วันเสาร์ที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 13

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 13 (เรียนชดเชย)
วันพฤหัสบดีที่ 28 เมษายน 2559
เวลาเรียน 8.30-12.30 น.


ความรู้ที่ได้รับ
   วันนี้อาจารย์สอนเกี่ยวกับวิธีการเขียนแผนการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยที่จำเป็นที่จะใช้สำหรับการสอน ซึ่งเนื้อหาประกอบไปด้วย 
    1.สาระที่ควรเรียนรู้ 
    2.เนื้อหา
    3.แนวคิด 
    4.ประสบการณ์สำคัญ ทั้ง 4 ด้าน ประกอบด้วย ด้านร่างกาย ด้านอารมณ์ ด้านสังคม และด้านสติปัญญา
    5.กรอบพัฒนาการและกิจกรรม ทั้ง 4 ด้าน ตามประสบการณ์สำคัญ
    6.การบูรณาการทักษะรายวิชาตามหน่วยเรื่อง
    7.แผนการจัดประสบการณ์
    8.เทคนิคการจัดกิจกรรมโดยการใช้คำถามปลายเปิด
และให้คำแนะนำในการทำนิทานของแต่ละกลุ่ม ว่าควรเพิ่มเติม หรือเสริมอะไร





        **สาระที่ควรเรียนรู้มี 4 ข้อ คือสิ่งเเวดล้อมรอบตัว ธรรมชาติรอบตัว บุคคลและสถานที่ และสิ่งต่างๆรอบตัว
       ***ประสบการณ์สำคัญ คือ สิ่งที่ต้องการให้เกิดขึ้นกับเด็ก ทำให้เกิดการเรียนรู้ เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม ต้องได้เรียนรู้โดยการลงมือกระทำก่อน


ทักษะ/ระดมความคิด
   -ทักษะการคิดกิจกรรมเกมการศึกษา กิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์
   -การแสดงความคิดเห็น
   -การวางแผน
   -การบูรณาการเนื้อหากับสาระการเรียนรู้ศิลปะสร้างสรรค์ คณิตศาสตร์
   -การวิเคราะห์
   -ความคิดสร้างสรรค์/จินตนาการ

ประเมิน
บรรยากาศในห้องเรียน
    อุปกรณ์การสอนไม่ค่อยพร้อมเนื่องจากเป็นอาคารที่เพิ่งสร้างเสร็จใหม่ อากาศเย็นสบาย เพื่อนๆมาเรียนเกือบครบทุกคน และให้ความร่วมมือในการตอบคำถามกับอาจารย์ มีการตอบโต้กันระหว่างอาจารย์กับนักศึกษาเป็นบรรยากาศที่อบอุป

การจัดการเรียนการสอน
  อาจารย์สอนสนุกทุกครั้งเวลาสอนเนื้อหาอาจารย์จะมีการยกตัวอย่างเพื่อให้นักศึกษาได้เข้าใจได้ง่ายขึ้น และให้ความเป็นกันเองกับนักศึกษา เมื่อนักศึกษามีปัญหาหรือไม่เข้าใจในเนื้อหาอาจารย์ก็จะอธิบายซ้ำให้ฟังอีกครั้ง เเละเพิ่มเติมเนื้อหาเพื่อให้คิดออกและเห็นภาพได้ง่าย ทำให้เข้าใจง่ายขึ้น

ประเมินตนเอง
   ตั้งใจเรียน ตั้งใจฟังที่อาจารย์สอน พยายามทำความเข้าใจในเนื้อหาที่เรียน จดบันทึกเนื้อหาหรือข้อความที่สำคัญ ที่เป็นประโยชน์ต่อการเรียนการศึกษา 

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 12

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 12
วันศุกร์ที่ 22 เมษายน 2559
เวลาเรียน 8.30-12.30 น.

ความรู้ที่ได้รับ
   อาจารย์ให้นักศึกษาแต่ละกลุ่มช่วยกันแต่งนิทานตามหน่วยที่ตนเองได้กลุ่มละ 1 เรื่อง กลุ่มของฉันได้หน่วยตัวฉัน แต่งนิทานเกี่ยวกับประโยชน์ของตัวฉัน ชื่อเรื่อง ความรู้ดีของพลอยใจ โดยในเนื้อเรื่องจะพูดถึงความดีเช่น ช่วยพ่อแม่ทำงานบ้าน ใช้บูรณาการทางคณิตศาสตร์โดยการนำเรื่องช่วงเวลาเข้ามาสอนเช่น เช้า สาย บ่าย เย็น และให้แต่ละกลุ่มระดมความคิด และช่วยกันเขียนแผนการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์ทั้ง 5 วัน ตามหน่วยต่างๆ ของเเต่ละกลุ่มขึ้นมา

ทักษะ/ระดมความคิด
   -ได้ใช้ความคิดสร้างสรรค์ จินตนาการสำหรับนิทาน 
   -การเชื่อมโยงนิทานกับคณิตศาสตร์
   -ทักษะในการจัดประสบการณ์นิทานให้เหมาะสมกับเรื่องราวเนื้อหา

ประเมิน
 บรรยากาศในห้องเรียน
   ห้องเรียนสะอาด น่าเรียน อากาศเย็นสบาย เพื่อนๆมาเรียนเกือบครบทุกคน และทุกคนก็ช่วยกันทำงานอย่างตั้งใจ มีการปรึกษาหารือกันเงียบๆภายในกลุ่ม ไม่เสียงดัง

 การจัดการเรียนการสอน
   การเรียนการสอนดำเนินไปได้ด้วยดี อาจารย์เป็นกันเอง และเดินดูนักศึกษาทุกกลุ่ม แล้วก็จะคอยให้คำแนะนำ คำปรึกษาในการทำกิจกรรมว่าควรทำแบบไหน ทำยอย่างไร

 ประเมินตนเอง
   ไม่ค่อยเข้าใจในเรื่องข้อควรระวัง ต้องไปถามอาจารย์ให้อธิบายให้เข้าใจใหม่ และได้ใช้ความคิดในการเขียนแผนการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์ก่อนการลงมือฝึกปฏิบัติจริง

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 11

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 11
วันศุกร์ที่ 1 เมษายน 2559
เวลาเรียน 8.30-11.30 น.

เนื้อหาที่เรียน

   การสอนการจัดประสบการณ์ โดยบูรณาการกับทักษะทางคณิตศาสตร์ ประกอบด้วย 5 หน่วย ดังนี้
หน่วยที่ 1 ผัก
หน่วยที่ 2 ยานพาหนะ
หน่วยที่ 3 ผีเสื้อ
หน่วยที่ 4 ผลไม้
หน่วยที่ 5 ตัวฉัน


  •  การจัดประสบการณ์ หน่วยผัก จัดสอนวันจันทร์ เรื่อง ประเภทของผัก
การสอน
  -ให้เด็กอ่านคำคล้องจองเกี่ยวกับประเภทผัก ถามเด็กเกี่ยวกับคำคล้องจองว่ามีกี่ชนิด อะไรบ้าง(ทักษะการคิด คำนวณ สังเกต) 
  -ให้เด็กแยกประเภทผัก
  -สรุปประเภทผัก ผักกินดอก ผักกินใบ และผักกินหัว
  -จัดประสบการณ์โดยบูรณาการทางคณิตศาสตร์ โดยการถามคำถามว่าเด็กชอบกินผักชนิดไหนมากที่สุด เด็กได้เรียนรู้คณิตศาสตร์ผ่านการนับแบบ1ต่อ1หรือ จำนวนมากที่สุด หรือน้อยที่สุด ดังนี้ 

                             การนับ>>>บอกจำนวน>>>แทนค่าตัวเลข>>>บอกลำดับ




  • การจัดประสบการณ์ หน่วยผีเสี้อ จัดสอนวันจันทร์ เรื่อง ประเภทผีเสื้อ
การสอน
   -ครูและเด็กร่วมกันร้องเพลงผีเสื้อ
   -นำสื่อ(รูปผีเสื้อ)ให้เด็กดู
   -สนทนา/ถาม ความรู้เดิมเกี่ยวกับผีเสื้อ
จัดประสบการณ์โดยบูรณาการทางคณิตศาสตร์ให้เด็กโดยนับแยกประเภทและบอกจำนวนผีเสื้อดังนี้
   - นับแล้วบอกจำนวนสุดท้ายให้แทนค่าด้วยตัวเลขฮินดูอารบิก 
   - การแยกออกจากกลุ่ม(เป็นการลบ) 
   - การเปรียบเทียบเพื่อหาจำนวนมากกว่า จำนวนน้อยกว่า



  • การจัดประสบการณ์ หน่วยผลไม้ จัดสอนวันอังคาร เรื่อง ลักษณะผลไม้
การสอน
   -อ่านคำคล้องจองเพลงผลไม้
   -ให้เด็กได้เรียนรู้จัก ลักษณะผลไม้ คือ ผลกลุ่ม ผลเดี่ยว โดยการให้เด็กได้ดูภาพแล้วตอบว่าเป็นรูปอะไร อธิบายลักษณะที่แตกต่างกันระหว่าง ผลกลุ่ม ผลเดี่ยว
   -ติดภาพผลกลุ่ม ผลเดี่ยว(เด็กมีส่วนร่วม)
   -ให้เด็กออกมาเขียนจำนวนผลกลุ่ม ผลเดี่ยว(เด็กมีส่วนร่วม)
จัดประสบการณ์โดยบูรณาการทางคณิตศาสตร์ให้เด็กโดยการนับจำนวน แบบ 1ต่อ1 การเรียนรู้ค่าตัวเลข รู้จักตัวเลข การเปรียบเทียบค่าน้อยกว่า มากกว่า
   หมายเหตุ:ลักษณะของผลไม้ควรประกอบด้วย รูปทรง ใบ เมล็ด เปลือก เนื้อ และรสชาด



  • การจัดประสบการณ์ หน่วยยานพาหนะ จัดสอนวันอังคาร เรื่อง ลักษณะของยานพาหนะ
การสอน
   -สื่อปริศนาคำทาย
   -ทบทวนความรู้เดิมเกี่ยวกับยานพาหนะที่เด็กรู้จัก
   -ให้เด็กดูภาพยานพาหนะ 3 ภาพ คือ รถยนต์ เรือ และเครื่องบิน
   -ครูถามเด็กเกี่ยวกับลักษณะของยานพาหนะทั้ง 3 ประเภท ที่เด็กสังเกตเห็นประกอบด้วย สี ขนาด รูปร่าง และส่วนประกอบ แล้วจดบันทึกลงตารางข้อมูล
   -ครูสรุปลักษณะยานพาหนะตามตารางข้อมูล
จัดประสบการณ์โดยบูรณาการทางคณิตศาสตร์ให้เด็กโดย การนับ การแทนค่าตัวเลข การเปรียบเทียบ



  • การจัดประสบการณ์ หน่วยตัวฉัน จัดสอนวันอังคาร เรื่อง อวัยวะต่างๆ
การสอน
   -สอนร้องเพลงอวัยวะ
   -สนทนาถามเด็กเกี่ยวกับอวัยวะต่างๆของร่างกาย 
   -ให้เด็กดูภาพอวัยวะต่างๆของร่างกาย ชาย-หญิง ประกอบการสอน
จัดประสบการณ์โดยบูรณาการทางคณิตศาสตร์ให้เด็กโดย การนับ จำนวน ตัวเลข





ทักษะ/ระดมความคิด
   -บทความ การไปซุปเปอร์มาเก็ตแล้วให้เด็กสังเกตป้ายราคาสินค้าทำให้เด็กได้เรียนรู้จำนวน ตัวเลข จากราคาสินค้า สอนให้เด็กรู้จักค่ามาก ค่าน้อย และการสังเกตสิ่งรอบๆตัวในการใช้ชีวิตประจำวันเช่นป้ายทะเบียนรถ ให้เด็กได้เรียนรู้ตัวเลขจากรถ รู้จักการบวก-ลบป้ายทะเบียนรถ
   -ตัวอย่างการสอน เป็นการสอนของครูท่านหนึ่งที่นำของที่อยู่รอบตัวมาเป็นสื่อในการสอน เช่น การทำขนมเปียกปูน ให้เด็กได้ดูของจริง ได้เรียนรู้ที่จะลงมือทำ ได้รู้จักรูปทรงของขนมที่ทำ แล้วก็สามารถทำมาเชื่อมโยงกับความรู้ทางคณิตศาสตร์เพื่อเสริมสร้างประสบการณ์ทั้งหมด
   -งานวิจัย เป็นการนำสื่อที่หาได้ง่ายมาใช้สำหรับการสอน และบูรณาการสอนที่สำคัญจากสื่อได้ เช่น การนำดอกไม้มาจำแนกประเภท
  • ทักษะการคิด/แก้ไขปัญหา
  • ทักษะการวิเคราะห์
  • การเชื่อมโยงกิจกรรมกับคณิตศาสตร์
  • การเปรียบเทียบ
  • จำนวน ตัวเลข
ประเมิน
 บรรยากาศในห้องเรียน
   ห้องเรียนสะอาด มีความเป็นระเบียบเรียบร้อย อากาศเย็นสบาย เพื่อนๆตั้งใจเรียนและตั้งใจทำกิจกรรมมาก และให้ความร่วมือในการทำกิจกรรมต่างๆ มีการแสดงความคิดเห็น และมีส่วนร่วมในการตอบคำถาม

 การจัดการเรียนการสอน
  ่อาจารย์มีการเตรียมการเรียนการสอนมาดี อธิบายเนื้อหาให้นักศึกษาฟังเป็นจุดจุด สร้างประเด็นในการเรียนการสอน และชี้แนะ ให้คำปรึกษาในการทำกิจกรรม

 ประเมินตนเอง
   ตั้งใจเรียน ทำความเข้าใจในเนื้อหาที่เรียน จดบันทึกประเด็นที่สำคัญในการเรียนการสอนทุกครั้ง ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมต่างๆในห้องเรียน