วันอาทิตย์ที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 5

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 5
วันศุกร์ที่ 12 กุมภาพันธ์ 2559
เวลาเรียน 8.30-12.30 น.

ความรู้ที่ได้รับ

   อาจารย์แจกกระดาษให้คนละแผ่น แล้วให้ทำเป็นตาราง และแรเงารูปในช่องตารางซึ่งเป็นรูปทรงอะไรอะได้ให้หลากหลายรูปแบบ จากกิจกรรมนี้ทำให้ได้เรียนรู้โดยการลงมือปฏิบัติจริง สามารถลงมือได้อย่างอิสระ และการตัดสินใจด้วยตนเอง สิ่งที่ได้จากกิจกรรมนี้
  -สามารถนำมาจัดประสบการณ์ให้เด็กได้ลงมือทำผ่านประสาทสัมผัสทั้ง5ได้ 
  -รูปสี่เหลี่ยมจำนวน 2-3 รูป ที่สามารถสร้างเป็นรูปทรงอื่นๆได้หลากหลายรูปทรง
  -เป็นการจัดการเรียนที่ทำให้เด็กได้รู้จากการสืบเสาะ
การทำกิจกรรมนี้จะประสบความสำเร็จอย่างมาก คือควรให้เด็กได้เรียนรู้รูปทรงก่อน แล้วค่อนให้เด็กทำกิจกรรม
   
   อาจารย์ได้นำนิทานเกี่ยวกับคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยมาในนักศึกษาดู ในนิทานจะเป็นรูปทรงต่างๆ เพื่อให้ดูเป็นตัวอย่างในการใช้สื่อการสอนสำหรับเด็กได้ ซึ่งชื่อเรื่อง เต่าน้อยหัดวาดรูป
   
   จากนั้นอาจารย์เปิดวิดิโอ ตัวอย่างการสอนแบบ Project Approach ให้ดู ซึ่งในตัวอย่างการสอนนี้มี 5 ลักษณะสำคัญคือ
ลักษณะที่ 1 การอภิปราย การนำเสนอ
ลักษณะที่ 2 การนำเสนอประสบการณ์เดิม
ลักษณะที่ 3 การทำงานภาคสนาม
ลักษณะที่ 4 การสืบค้น
ลักษณะที่ 5 การจัดแสดง

   *การเรียนรู้ คือ การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม
   **วิธีการเรียนรู้ คือ การลงมือกระทำ
   ***พัฒนาการ คือ ความสามารถของเด็กแต่ละระดับช่วงอายุว่าสามารถทำอะไรได้บ้าง


 ทักษะ/ระดมความคิด
   -ทักษะในการคิดวิเคราะห์ความน่าจะเป็นไปได้ 
   -ทักษะการเรียนรู้โดยการลงมือกระทำ
   -รู้จักการแก้ไขปัญหาที่เหมาะสม
   -ทักษะในการคิด คำนวณ เรียนรู้รูปทรง

 ประเมิน
บรรยากาศในห้องเรียน
   ห้องเรียนสะอาด บรรยากาศดี เพื่อนๆตั้งใจเรียนมาก และให้ความร่วมมือกับอาจารย์ในการตอบคำถาม ทุกคนดูกระตือรือล้นในการทำกิจกรรม

การจัดการเรียนการสอน
   อาจารย์มาสอนตรงเวลา มีการเตรียมการสอนมาดี ทุกครั้งที่สอนอาจารย์จะยกตัวอย่างประกอบด้วยเสมอ ทำให้นักศึกษาเข้าใจมากขึ้น

วิเคราะห์ตนเอง
   วันนี้เข้าเรียนสาย 5 นาที ซึ่งอาจารย์เข้าสอนแล้ว ทำให้ต้องถามเพื่อนข้างๆ แต่ก็เรียนทันเพื่อน เข้าใจในเนื้อหาที่อาจารย์สอน และได้ความรู้หลากหลายอย่าง จากกิจกรรมที่อาจารย์ให้ทำ



วันอังคารที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 4

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 4
วันศุกร์ที่ 5 กุมภาพันธ์ 2559
เวลาเรียน 8.30-12.30 น.

ความรู้ที่ได้รับ


    อาจารย์นำสื่อการสอนปฏิทิน มาเป็นแบบอย่างในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้เหมาะสมกับเด็กปฐมวัย เพื่อให้เด็กเกิดทักษะจากสื่อการสอนคือ ได้การคิด เรียนรู้ตัวเลขฮินดูอารบิก การนับ การเรียงลำดับ และสี

 ๐เพื่อนออกมานำเสนอ
        -สรุปบทความ
        -ตัวอย่างการสอน
        -สรุปงานวิจัย
  ๐ประเภทสื่อสำหรับเด็กซึ่งมีทั้งหมด 8 ประเภทดังนี้
      1. จับคู่
      2. ภาพตัดต่อ
      3. สังเกตรายละเอียดภาพ
      4. โดมิโน
      5. ความสัมพันธ์ 2 แกน
      6. เรียงลำดับ(ขั้นตอน)
      7. การจัดหมวดหมู่
      8. เกมพื้นฐานการบวก


  เพลงคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

เพลงจับปู
หนี่ง สอง สาม สี่ ห้า   จับปูม้ามาได้หนึ่งตัว
หก เจ็ด แปด เก้า สิบ    ปูมันหนีบฉันต้องฉ่ายหัว
กลัว ฉันกลัว ฉันกลัว   ปูหนีบฉันที่หัวแม่มือ



  เพลงนกกระจิบ
          นั่นนกบินมาลิบๆ      นกกระจิบ 1,2,3,4,5
อีกฝูงบินล่องลอยมา     6,7,8,9,10ตัว

เพลงนับนิ้วมือ
นี่คือนิ้วมือของฉัน       มือฉันนั้นมีสิบนิ้ว
มือซ้ายฉันมีห้านิ้ว       มือขวาก็มีห้านิ้ว

นับหนึ่งสองสามสี่ห้า       นับต่อมาหกเจ็ดแปดเก้าสิบ

นับนิ้วนับจงอย่ารีบ       นับหนึ่งถึงสิบจำให้ขึ้นใจ
นี่คือนิ้วมือของฉัน       มือฉันนั้นมีสิบนิ้ว
มือซ้ายฉันมีห้านิ้ว       มือขวาก็มีห้านิ้ว
นับหนึ่งสองสามสี่ห้า       นับต่อมาหกเจ็ดแปดเก้าสิบ
นับนิ้วนับจงอย่ารีบ       นับหนึ่งถึงสิบจำให้ขึ้นใจ


เพลง บวก-ลบ
บ้านฉันมีแก้วน้ำสี่ใบ       ครูให้อีกสามใบนะเธอ
มารวมกันนับดีดีซิเออ       ดูซิเธอรวมกันได้เจ็ดใบ
บ้านฉันมีแก้วน้ำเจ็ดใบ       หายไปสามใบนะเธอ
ฉันหาแก้วแล้วไม่เจอ       ดูซิเธอเหลือเพียงแค่สี่ใบ


เพลง แม่ไก่ออกไข่
แม่ไก่ออกไข่วันละฟอง        ไข่วันละฟอง ไข่วันละฟอง
แม่ไก่ของฉันไข่ทุกวัน          หนึ่งวันได้ไข่หนึ่งฟอง

เพลง ลูกแมว
ลูกแมว 10 ตัว ที่ฉันเลี้ยงไว้ 

น้องขอให้แบ่งไป 1ตัว

ลูกแมว 10 ตัวก็เหลือน้อยลงไป
 นับดูใหม่เหลือลูกแมว 9 ตัว (8,7,6,5,4,3,2,1)

  ๐ จากนั้นก็ให้นักศึกษาแบ่งกลุ่มและช่วยกันแปลงเพลง บวก-ลบ และได้เพลงใหม่ที่แปลงแล้ว ดังนี้

   บ้านฉันมีลูกไก่สี่ตัว น้าให้อีกสามตัวนะเธอ
มารวมกันนับดีดีซิเออ  ดูซิเธอรวมกันได้เจ็ดตัว
บ้านฉันมีลูกไก่เจ็ดตัว  หายไปสามตัวนะเธอ
ฉันหาลูกไก่แล้วไม่เจอ  ดูซิเธอเหลือเพียงแค่สี่ตัว

   ๐ อาจารย์ให้นักศึกษาแต่ละกลุ่ม ออกมานำเสนอของเล่น (มีทั้งหมด 7 กลุ่ม)



ทักษะ/ระดมความคิด

ได้ทักษะจากการเรียนรู้จากประสาทสัมผัสทั้ง 6 ทักษะในการคิดประดิษฐ์สื่ออย่างไรให้เหมาะสมกับเด็กปฐมวัย ทักษะในการจัดประสบการณ์ให้เหมาะสมกับเด็ก และได้ช่วยกันในการระดมความคิดสร้างสรรค์ในการเเปลงเพลง


ประเมิน

บรรยากาศในห้องเรียน
ห้องเรียนสะอาด อากาศดี ไม่เสียงดัง เพื่อนๆต่างตั้งใจเรียน และทุกคนช่วยกันตอบคำถามและให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมเป็นอย่างดี 

การจัดการเรียนการสอน

มีการเตรียมการสอนมาดี อาจารย์จะมีคำถามเกี่ยวกับสาระที่เรียนให้นักศึกษาช่วยกันคิด แล้วอาจารย์ก็จะเสริมแทรกความรู้เพิ่มเติมให้ ทำให้เข้าใจมากยิ่งขึ้น 

วิเคราะห์ตนเอง

ตั้งใจเรียน เข้าใจในเนื้อหา ได้เรียนรู้เรื่องของเล่นที่ส่งเสริมในด้านคณิตศาสตร์ที่เพื่อนออกมานำเสนอ มีความสนุกสนานในการเรียนร้องเพลง และการแปลงเพลง

บันทึกการเรียนรู้

บันทึกการเรียนรู้ (สอนชดเชย)
วันพุธที่ 3 กุมภาพันธ์ 2559
เวลาเรียน 14.30-17.30 น.

ความรู้ที่ได้รับ

   อาจารย์ให้นักศึกษาออกไปติดป้ายชื่อของตนเองในช่องตารางกิจวัตรการตื่นนอนในเช้าวันนี้ว่าใครตื่นตอนไหน โดยกำหนดตารางเป็นสามช่องคือ ตื่นก่อน 7.00น.  ตื่น 7.00 น.  ตื่นหลัง 7.00 น. จากกิจกรรมนี้ทำให้เด็กได้เรียนรู้ในเรื่องการลำดับเวลา การแบ่งกลุ่ม การคิด และบอกจำนวน
   
เนื้อหาที่เรียน
   6 สาระการเรียนรู้ มีดังนี้

สาระที่1: จำนวนและการดำเนินการ
มาตรฐาน ค.ป.1.1 เข้าใจถึงความหลากหลายของการแสดงจำนวนและการใช้จำนวนในชีวิตจริง
    -บอกจำนวนปริมาณที่ได้จากการนับ
    -การอ่านตัวเลขฮินดู-อารบิก และตัวเลขไทย
    -การเขียนตัวเลขฮินดู-อารบิกแสดงจำนวน
    -การเปรียบเทียบจำนวน
    -การเรียงลำดับจำนวน

   การรวมและการแยกกลุ่ม
    -ความหมายของการรวม
    -การรวมสิ่งต่างๆสองกลุ่มที่มีผลรวมไม่เกิน 10
    -ความหมายของการแยก
    -การแยกกลุ่มย่อยออกจากกลุ่มใหญ่ที่มีจำนวนไม่เกิน 10

สาระที่2: การวัด
มาตรฐาน ค.ป.2.1 เข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับการวัดความยาว น้ำหนัก ปริมาตร เงิน และเวลา
  ความยาว น้ำหนัก ปริมาตร
    -การเปรียบเทียบ/การวัด/การเรียงลำดับความยาว
    -การเปรียบเทียบ/การชั่ง/การเรียงลำดับน้ำหนัก
    -การเปรียบเทียบปริมาณ/การตวง
  เงิน
    -ชนิดของค่า ของเงิน เหรียญและธนบัตร
  เวลา
    -ช่วงเวลาในแต่ละวัน
    -เวลาในแต่ละวันที่ใช้บอกเวลา

สาระที่3: เรขาคณิต
มาตรฐาน ค.ป.3.1 รู้จักใช้คำในการบอกตำแหน่ง ทิศทาง และระยะทาง
มาตรฐาน ค.ป.3.2 รู้จักจำแนกรูปเรขาคณิต และเข้าใจการเปลี่ยนแปลงรูปเรขาคณิตที่เกิดจากการจัดกระทำ
  ตำแหน่งทิศทางและระยะสิ่งต่างๆ
    -รูปเรขาคณิตสามมิติ และรูปเรขาคณิตสองมิติ
    -รูปทรงกลม รูปสามเหลี่ยม รูปสี่เหลี่ยม
    -ทรงกลม ทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก กรวย ทรงกระบอก
    -การเปลี่ยนแปลงรูปเรขาคณิตสองมิติ
    -การสร้างสรรค์รูปเรขาคณิตจากงานศิลปะ

สาระที่4: พีชคณิต
มาตรฐาน ค.ป.4.1 เข้าใจรูปแบบและความสัมพันธ์
  แบบรูปและความสัมพันธ์
    -แบบรูปของรูปที่มีรูปร่าง ขนาด และสี ที่สัมพันธ์กันอย่างใดอย่างหนึ่ง

สาระที่5: การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
มาตรฐาน ค.ป.5.1 รวบรวมข้อมูที่เกี่ยวข้องกับตนเองและสิ่งแวดล้อม และนำเสนอ

สาระที่6: ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์
  การเเก้ปัญหา การใช้เหตุผล การสื่อสาร และการสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์ และการนำเสนอ การเชื่อมโยงความรู้ต่างๆทางคณิตศาสตร์ และเชื่อมโยงคณิตศาสตร์กับศาสตร์อื่นๆและมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์

ทักษะ/ระดมความคิด
   -ได้ทักษะในการวิเคราะห์ ทักษะในการจัดกิจกรรมให้เด็กโดยใช้เรื่องราวในชีวิตประจำวันมาเรียงลำดับเหตุการณ์ก่อน-หลัง
   -ช่วยกันระดมความคิดในการตอบคำถาม เกี่ยวกับเด็กคือถ้าเด็กได้ลงมือกระทำ ได้ปฏิบิติจริง เด็กจะได้อะไรจากสิ่งนั้น

ประเมิน
 บรรยากาศในห้องเรียน
   อากาศค่อนข้างดี ห้องเรียนสะอาด ช่วงแรกไฟดับแต่สักพักไฟก็มา ทุกคนต่างมีส่วนร่วมในการคิดและวิเคราะห์คำถามที่อาจารย์ถาม 

 การจัดการเรียนการสอน
   อาจารย์มีการเตรียมการสอนมาดี มีเนื้อหาครบ อธิบายเข้าใจ และอาจารย์จะยกตัวอย่างทุกครั้งในแต่ละสาระการเรียนรู้ต่างๆ ทำให้เข้าใจได้มากขึ้นกว่าเดิม

 วิเคราะห์ตนเอง
   เข้าใจในเนื้อหาสาระการเรียนรู้ต่างๆ ได้ทักษะทางคณิตศาสตร์ในการนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน และในอนาคตได้ และมีส่วมร่วมในการตอบคำถาม ระดมความคิดร่วมกับเพื่อนๆ