วันอาทิตย์ที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 10

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 10
วันศุกร์ที่ 25 มีนาคม 2559
เวลาเรียน 8.30-12.30 น.


ความรู้ที่ได้รับ

  วันนี้เริ่มการเรียนการสอนโดย เพื่อนออกมานำเสนอ 
  • บทความทางคณิตศาสตร์  -เรื่อง การเชื่อมโยงสิ่งที่เห็นกับชีวิตประจำวัน 
  • ตัวอย่างการสอนทางคณิตศาสตร์-เรื่อง การเรียนรู้การนับจำนวน หน่วยไข่
  • งานวิจัยทางคณิตศาสตร์ -เรื่อง การเปรียบเทียบความพร้อมเกมการศึกษาและเพลงกับการใช้ตามคู่มือของครูของมหาวิทยาลัยศิลปากร
 การสอนแบบเสริมประสบการณ์ โดยบูรณาการกับทักษะทางคณิตศาสตร์
   อาจารย์ให้นักศึกษานั่งตามกลุ่มของตนเอง ซึ่งแต่ละกลุ่มจะมีทั้งหมด 5 คน เพื่อให้ครอบคลุมเนื้อหาในเเต่ละหน่วย จึงแบ่งหัวข้อให้ครบ 5 วัน ซึ่งมีหน่วยดังนี้
-หน่วยยานพาหนะ
-หน่วยตัวฉัน-
-หน่วยผีเสื้อ
-หน่วยผลไม้
-หน่วยผัก

   หัวข้อการสอนในแต่ละวัย
วันจันทร์: ชื่อ/อายุ
วันอังคาร: ลักษณะ
วันพุธ: สถานที่
วันพฤหัสบดี: ประโยชน์ของฉัน
วันศุกร์: ข้อควรระวัง

    อาจารย์อธิบายวิธีการทำแผนการสอนแต่ละหัวข้อในแต่ละวัน โดยให้นำการประยุกต์สาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์มาบูรณาการในการสอนด้วย
   สาระที่ 1 จำนวนและการดำเนินการ
   สาระที่ 2 การวัด
   สาระที่ 3  เรขาคณิต
   สาระที่ 4 พีชคณิต
   สาระที่ 5 การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
   สาระที่ 6 ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์

ทักษะ/ระดมความคิด
  -ทักษะการนับ/บอกค่า
  -ทักษะการคิด
  -ทักษะการวิเคราะห์
  -การแก้ไขปัญหา
  -การสังเกต
  -การวางแผน
  -การจินตนาการ
  -การแสดงความคิดเห็น

 ประเมิน
บรรยากาศในห้องเรียน
   ห้องเรียนสะอาด เป็นระเบียบเรียบร้อย ไม่แออัด บรรยากาศเย็นสบาย เพื่อนๆตั้งใจเรียน และช่วยการตอบคำถาม และแสดงความคิดเห็น

การจัดการเรียนการสอน
   อุปกรณ์/สื่อในการเรียนการสอนไม่พร้อม เนื่องจากอาคารใหม่ แต่อาจารย์ก็ต้องใจสอนมาก พยายามให้ความรู้แก่นักศึกษาให้มากที่สุด ทุกครั้งเวลาสอนเนื้อหาอาจารย์จะมีการยกตัวอย่างเพื่อให้นักศึกษาได้เข้าใจได้้ง่ายขึ้น เเละถ้าใครมีปัญหาหรือไม่เข้าใจในเนื้ออาจารย์ก็จะอธิบายซ้ำให้ฟังอีกครั้ง เเละเพิ่มเติมเนื้อหาเพื่อให้คิดออกและเห็นภาพได้ง่าย ทำให้เข้าใจ

วิเคราะห์ตนเอง
   ตั้งใจฟังที่อาจารย์สอน จดบันทึกเนื้อหาที่สำคัญ พยายามทำความเข้าใจกับเนื้อหาให้มากขึ้น ทำให้เข้าใจได้ง่าย
   

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 9

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 9
วันศุกร์ที่ 18 มีนาคม 2559
เวลาเรียน 8.30-12.30 น.

ความรู้ที่ได้รับ
   
   วันนี้อาจารย์สอนเกี่ยวกับการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่จะนำไปสอนจริง โดยจัดให้สอดคล้องกับสาระการเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์ ทั้ง 5 วัน เพื่อให้เด็กได้เรียนรู้และได้ประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์จากการบูรณาการ
  

  •  อาจารย์ได้ยกตัวอย่างหลายหน่วยให้ดู ยกตัวอย่างเช่น หน่วยนก

       1.ประเภท(ชนิด)
       2.ลักษณะ

                -รูปร่าง
                -หาง
                -ปาก
                -สี
       3. ปัจจัยในการดำรงชีวิต
                -ทางน้ำ
                -ทางบก
        4. ประโยชน์
                -อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
        5. ข้อควรระวัง/โทษ


ทักษะ/ระดมความคิด
  -ทักษะในการวิเคราะห์
  -ทักษะในการคิด
  -ทักษะในการสังเกต

 ประเมิน
บรรยากาศในห้องเรียน
   บรรยากาศค่อนข้างโล่ง เนื่องจากจะมีการทุบอาคารเรียนเพื่อปรับปรุงใหม่ ทำให้มีสื่ออุปกรณ์การสอนไม่ครบ แต่ก็ไม่ได้มีปัญหาในการสอน เพราะอาจารย์จะเน้นที่การอธิบายให้นักศึกษาฟัง

การจัดการเรียนการสอน
   สื่อสำหรับการเรียนการสอนไม่พร้อม เนื่องจากมีการเคลื่อนย้ายอุปกรณ์ต่างๆออกจากอาคาร เพื่อปรับปรุบอาคารใหม่

วิเคราะห์ตนเอง
   ตั้งใจฟัง ตั้งใจเรียน พยายามจดเนื้อหาสาระที่สำคัญ

วันเสาร์ที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 8

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 8
วันศุกร์ที่ 11 มีนาคม 2559
เวลาเรียน 8.30-12.30 น.


ความรู้ที่ได้รับ

   เนื่องจากอาคารที่เรียนจะทุบก่อสร้างใหม่ ซึ่งสัปดาห์นี้เป็นสัปดาห์สุดท้ายที่จะมีการเรียนการสอนที่อาคารนี้ ดังนั้นอาจารย์จึงยุ่งกับการจัดเก็บ และขนย้ายของหรือเอกสารต่างๆ ในสัปดาห์นี้อาจารย์จึงสั่งให้นักศึกษาทำสื่อประกอบการเรียนการสอน ซึ่งมีอุปกรณ์ดังนี้

   วัสดุ/อุปกรณ์
1.ลังกระดาษ
2.ดินสอ/ยางลบ
3.ไม้บรรทัด
4.คัตเตอร์
5.กาว
6.แผ่นโฟมตัวแบบ

   ขั้นตอนการทำ
1.ใช้ดินสอวาดรูปสี่เหลี่ยมตามแผ่นโฟมตัวแบบบนลังกระดาษ
2.ตัดลังกระดาษตามรูปสี่เหลี่ยมที่วาดไว้
3.ตัดลังกระดาษจากส่วนด้านในรูปสี่เหลี่ยมที่ตัดออกตามแผ่นโฟมตัวแบบอีก 3 ชิ้น
4.ตัดลังกระดาษให้ได้ขนาดเท่ากับสี่เหลี่ยมตัวแบบ
5.นำผลงานจากขั้นที่ 2 และ ขั้นที่ 4 ติดกาวเข้าด้วยกัน เพื่อยึดเป็นฐานรอง











 ผลงาน

รูปทรงทดสอบ I.Q.


ทักษะ/ระดมความคิด
  - การคิด
  - ความน่าจะเป็น (เนื่องจากแผ่นโฟมตัวแบบหาย 1 ชิ้น)
  - รูปร่าง รูปทรง

ประเมิน
 บรรยากาศในห้องเรียน
   ห้องเรียนไม่ค่อยเป็นระเบียบเนื่องจากมีการเคลื่อนย้ายของไปที่อื่น เพื่อนๆในห้องช่วยกันทำงานที่อาจารย์สั่ง และมีเพื่อนบางส่วนไปช่วยงานอาจารย์

 การจัดการเรียนการสอน
   อาจารย์อธิบายกิจกรรมที่ให้นักศึกษาทำอย่างเข้าใจ และมีการจัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์มาครบ พร้อมในการทำกิจกรรม

 วิเคราะห์ตนเอง
   เข้าใจ และตั้งใจทำผลงานที่อาจารย์ให้ทำออกมาดีที่สุด หลังจากเสร็จแล้วก็เข้าไปช่วยงานอาจารย์ต่อ

วันอาทิตย์ที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 7

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 7
วันศุกร์ที่ 4 มีนาคม 2559
เวลาเรียน 8.30-12.30 .


ความรู้ที่ได้รับ

   วันนี้อาจารย์จะให้ทำกิจกรรม จึงให้นักศึกษาที่ต้องพรีเซนท์บทความ ตัวอย่างการสอน และงานวิจัย ออกมาพรีเซนท์ก่อนทำกิจกรรม หลังจากนำเสนอเสร็จแล้ว อาจารย์ก็ให้ทำกิจกรรมโดยการให้จับคู่ แล้วทำเกมสื่อการเรียนการสอนทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย โดยประดิษฐ์สื่อเป็นตารางจากวัสดุอุปกรณ์

   วัสดุ/อุปกรณ์
1.แผ่นลังกระดาษตัดเป็นสี่เหลี่ยมจตุรัส
2.กระดาษขาวตัดเป็นสี่เหลี่ยมจตุรัสให้เท่ากับขนาดแผ่นลังกระดาษ
3.สติกเกอร์ใส
4.กรรไกร/คัตเตอร์
5.ไม้บรรทัด
6.กาว
7.ดินสอ/ยางลบ
8.เทปกาว
9.เทปสี(ดำ)

   ขั้นตอนการทำ
1.ตีตารางให้ได้ขนาดเท่าๆกัน
2.ตัดลังกระดาษแบ่งครึ่งออกเป็น 2 ส่วนให้ได้ขนาดเท่าๆกัน
3.ตีตารางบนกระดาษขาวให้ได้ขนาดเท่าๆกัน
4.นำกระดาษขาวที่ตีตารางแล้วทากาวติดลังกระดาษที่ตัดแบ่งครึ่งออกเป็น 2 ส่วน โดยติดทีละส่วน ให้ครบทั้ง 2 ส่วน
5.ติดเทปกาวด้านหลังลังกระดาษ ตรงส่วนที่ต่อกันเพื่อให้พับได้
6.ติดเทปสีดำบนกระดาษขาวตามเส้นตารางที่ตีไว้
7.เคลือบสติกเกอร์ใส เพื่อให้ง่ายต่อการใช้ได้นาน

รูปภาพในการทำกิจกรรม











ทักษะ/ระดมความคิด
  -การคิด
  -การวางแผน
  -การวิเคราะห์ความน่าจะเป็น
  -การแก้ไขปัญหา


ประเมิน
 บรรยากาศในห้องเรียน
   ห้องเรียนสะอาด โต๊ะ เก้าอี้เป็นระเบียบเรียบร้อย บรรยากาศค่อนข้างเย็น เพื่อนๆช่วยกันตอบคำถาม และตั้งใจทำกิจกรรม

 การจัดการเรียนการสอน
   อาจารย์จะพยายามอธิบายเนื้อหาอย่างชัดเจน และละเอียด เพื่อให้นักศึกษาทำความเข้าใจได้ง่าย และเมื่อนักศึกษาคนไหนมีปัญหาไม่เข้าใจ อาจารย์ก็จะตอบทุกคำถาม

 วิเคราะห์ตนเอง
   ตั้งใจฟังอาจารย์อธิบาย จดบันทึกเนื้อหาสาระที่เป็นประโยชน์ต่อการเรียน และตั้งใจทำกิจกรรมต่างๆ

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 6

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 6
วันศุกร์ที่ 19 กุมภาพันธ์ 2559
เวลาเรียน 8.30-12.30 น.

ความรู้ที่ได้รับ

   อาจารย์แจกไม้เสียบลูกชิ้นให้นักศึกษาจำนวน 12 ไม้ แล้วให้นักศึกษาตัดส่วนที่เป็นปลายแหลมออก จากนั้นให้ตัดไม้ออกให้ได้ขนาดไม่เท่ากันดังนี้ ไม้สั้น ไม้ขนาดกลาง และไม้ยาว แล้วอาจารย์ก็แจกดินน้ำมันให้นักศึกษาคนละก้อน โดยกิจกรรรมแรกที่ให้ทำคือ อาจารย์สั่งให้ทำรูปสามเหลี่ยมจากไม้และวัสดุอุปกรณ์ที่มี ซึ่งฉันใช้ไม้ขนาดกลางจำนวน 3 ไม้


จากนั้นให้จับคู่แล้วทำรูปทรงสามเหลี่ยมจากวัสดุที่มี


ต่อไปให้ทำรูปสี่เหลี่ยม ฉันทำรูปสี่เหลี่ยมจตุรัส



และอาจารย์ให้จับคู่เหมือนเดิม แล้วให้ทำรูปทรงสี่เหลี่ยม ฉันและเพื่อนทำรูปทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้า



จากการทำกิจกรรมมีกระบวนการ การจัดการเรียนการสอนโดยการแก้ไขปัญหาดังนี้


วิเคราะห์แนวคิด
v
ศึกษาวัสดุที่มีอยู่
v
ลงมือทำ
v
ผลงาน
v
การประเมินผล
v
นำเสนอ

   การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์บูรณาการศิลปะสร้างสรรค์
การสร้างโมเดลโครงสร้างรูปทรง ให้เด็กต่อเติมเป็นรูปต่างๆ ผ่านศิลปะ โดยให้เด็กวาดภาพตามจินตนาการแล้วสามารถนำมาบูรณาการทางคณิตศาสตร์ และศิลปะได้
  การจัดประสบการณ์นั้นจะต้องสอดคล้องกับชีวิตประจำวัน ดังนี้
ระสบการณ์เดิม >นำมาสู่ประสบการณ์ใหม่ >การปรับโครงสร้าง >การรับรู้ >เพื่อเอาตัวรอด

ทักษะ/ระดมความคิด
  -ทักษะในการคิด
  -ทักษะการวิเคราะห์
  -ทักษะการแก้ไขปัญหา
  -ทักษะการสังเกต
  -การตอบคำถามจากโจทย์/ปัญหา

ประเมิน
 บรรยากาศในห้องเรียน
   ห้องเรียนสะอาด บรรยากาศอบอุ่น วันนี้มีเพื่อนเซค 101 มาเรียนด้วย ทำให้มีจำนวนนักศึกษาเพิ่มขึ้น แต่ไม่มีปัญหาในการเรียน และเพื่อนๆต่างช่วยกันตอบคำถาม

 การจัดการเรียนการสอน
   อาจารย์มีการเตรียมการสอนมาดี และมีวัสดุอุปกรณ์เตรียมพร้อมให้กับนักศึกษา แต่มีบางคนที่ไม่ได้อุปกรณ์ซึ่งมีจำนวนน้อย แต่ก็ไม่ได้เป็นอุปศักดิ์ต่อการเรียน เพราะสามารถใช้อุปกรณ์กับเพื่อนได้

 วิเคราะห์ตนเอง
   จดบันทึกเนื้อหาที่สำคัญ พยายามทำความเข้าใจกับเนื้อหาให้มากขึ้น ทำให้เข้าใจได้ง่าย