วันอาทิตย์ที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 3

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 3
วันศุกร์ที่ 29 มกราคม 2559
เวลาเรียน 8.30 - 12.30 น.

ความรู้ที่ได้รับ


   อาจารย์แจกกระดาษแข็งให้นักศึกษาแบ่งเป็น 2 ส่วน แล้วเก็บไว้ที่ตัวเอง 1 แผ่น และเอาให้เพื่อนอีก 1 แผ่น จากนั้นก็ให้เขียนชื่อตนเองลงในกระดาษ อาจารย์วาดตารางแบ่งครึ่งคนที่มา และคนที่ไม่มาบนกระดาษ และให้นักศึกษาออกเทปกลาวติดด้านหลังชื่อกระดาษ และออกมาแปะชื่อของตนเองบนกระดาษในช่องที่มาเรียน

จากนั้นก็ให้นักศึกษาเลขที่ 1 2 และ 3 ออกมานำเสนอ 
        -บทความที่เกี่ยวกับคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
        -ตัวอย่างการสอนคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
        -งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
   อาจารย์สอนวิธีการนับเลข 1-20 แบบง่ายให้กับเด็ก จากการใช้กระดาษรายชื่อนักศึกษาที่ติดอยู่บนกระดาน โดยการเริ่มนับจากเลขหลักหน่วยตั้งแต่ 1 2 3 4 5 6 7 8 9 พอจะนับที่หลักสิบให้เอาจำนวนหลักหน่วย 1-9 มัดรวมกันเป็นก้อนเดียว ก็จะได้หนึ่งก้อนเป็นสิบ สองก้อนเป็นยี่สิบ ซึ่งการเรียนแบบนี้ทำให้เด็กได้มีส่วนร่วมด้วย
   จากนั้นอาจารย์ก็ให้ร้องเพลงที่เนื้อสามารถนำมาเป็นส่วนหนึ่งในการสอนคณิตศาสตร์สำหรับเด็กได้ ประกอบด้วยเพลงดังต่อไปนี้
       -เพลงสวัสดียามเช้า
       -เพลงสวัสดีคุณครู 
       -เพลงหนึ่งปีมีเพลงสิบสองเดือน
       -เพลงเข้าแถว 
       -เพลงซ้ายขวา
       -เพลงจัดแถว
       -เพลงขวดห้าใบ 
และเรียนเนื้อหาสาระคณิตศาสตร์

ทักษะ/ระดมความคิด
    ได้คิดและแก้ไขปัญหาจากประเด็นที่ว่าทำอย่างไรที่จะให้เด็กในห้องได้การวัดขนาดให้ได้ 1 คืบโดยต้องเท่ากันทุกคน การเปรียบเทียบจำนวนน้อยกว่าหรือมากกว่า และทักษะการเพิ่ม-ลด บวก-ลบ 
รวมถึงเพลงที่ได้ระดมความคิดว่าแต่ละเพลงมีส่วนไหนที่เกี่ยวข้องทางคณิตศาสตร์ เช่น ตำแหน่ง ทิศทาง จำนวน

ประเมิน

 บรรยากาศในห้องเรียน
    บรรยากาศเย็นสบาย ห้องเรียนสะอาด แต่ตอนเช้าไฟดับทำให้มืด ซักพักไฟก็มา แต่ก็ไม่มีปัญหาสำหรับนักศึกษา และทุกคนก็ตั้งใจเรียน

 การจัดการเรียนการสอน

   อาจารย์อธิบายเนื้อหาอย่างละเอียด ทำให้เห็นภาพ และทุกๆเรื่องที่สอนสามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้จริง ทำให้ทุกๆเรื่องที่สอนเป็นประโยชน์ต่อนักศึกษาอย่างมาก

 วิเคราะห์ตนเอง

   เข้าใจเนื้อหาในสิ่งที่อาจารย์สอน ได้แนวคิดใหม่ๆจากบทเรียน และวิธีที่จะสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนในอนาคตต่อไปได้

วันอังคารที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2559

สรุปบทความ

สรุปบทความ

6 เทคนิคการสอนคณิตศาสตร์ เคล็ดลับสำหรับเด็กเกลียดเลข

ดยทีมวิชาการ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว.)
29 สิงหาคม 2548
    
 คอลัมน์....โรงเรียนในฝัน

    วันจันทร์ ที่ 29 สิงหาคม 2548 สถาบันวิจัยและพัฒนาผู้ที่มีความสามารถพิเศษและความต้องการพิเศษแห่งชาติ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว) นำทีมโดย ศ.ดร.ศรียา นิยมธรรม รองประธานสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้ที่มีความสามารถพิเศษและความต้องการพิเศษแห่งชาติ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว) จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “เทคนิคการสอนคณิตศาสตร์เด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้ด้านคณิตศาสตร์” ขึ้น ณ ห้องประชุมสำนักหอสมุดกลาง ชั้น 8 มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
    งานนี้จัดขึ้นมาจากการคัดกรองเด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ ว่าเด็กแต่ละคนมีความบกพร่องทางด้านใด เมื่อได้แล้วก็เข้าสู่กระบวนการช่วยเหลือ ซึ่งทางสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้ที่มีความสามารถพิเศษและความต้องการพิเศษแห่งชาติ และจัดเทคนิคการสอนคณิตศาสตร์ให้แก่ผู้เรียน
    นางสาวพัชรินทร์ เสรี นิสิตระดับปริญญาเอก สาขาการศึกษาพิเศษ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ กล่าวว่า

   “เด็กที่มีความบกพร่องทางด้านคณิตศาสตร์ ความรู้ด้านคณิตศาสตร์จะไม่ได้ตามวัยของเด็ก อย่างเช่นการบวก ลบ คูณ หาร จำนวนต่างๆ เด็กจะไม่รู้ตามวัยที่ควรจะรู้”

    เทคนิคที่จะนำมาสาธิตให้ครูที่เข้าร่วมการประชุมเชิงปฏิบัติการครั้งนี้ได้เรียนรู้ มีทั้งสิ้น 6 วิธีซึ่งใช้ได้ผลในเด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ ประกอบด้วย
       
       1.ใช้การละเล่นพื้นบ้าน ใช้เกมการละเล่นพื้นบ้านมาสอนเด็ก ซึ่งจะสอนเรื่องการเปรียบเทียบ การวัดระยะทาง การบวกลบคูณหาร
       
       2.สอนเทคนิคการอ่านโจทย์เลข เด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้จะอ่านโจทย์เลขไม่ได้ ซึ่งจะอ่านไม่เข้าใจ ไม่รู้ว่าโจทย์ถามอะไร หมายความอย่างไร เมื่ออ่านโจทย์ไม่ได้ก็จะส่งผลถึงการคิดเลขด้วย ซึ่งเราจะใช้วิธีการทางกราฟิกเข้ามาช่วยในการอ่านโจทย์ปัญหา
       
       3.ใช้ศิลปะเข้ามาช่วย เน้นคำถามเชิงเปรียบเทียบและคำถามเชิงเหตุผลแต่ใช้ศิลปะเข้ามาช่วย เราอาจจะสอนเด็กด้วยการปั้นหุ่นยนต์ซึ่งอาจจะมีอุปกรณ์เป็นดินน้ำมันหรือแป้งโด กระดาษ จากนั้นคุณครูอาจบอกว่า มีแป้งโดกับกระดาษ และถ้านำของสองสิ่งนี้ไปวางที่ประตูแล้วมีลมพัดมา นักเรียนคิดว่าระหว่างแป้งโดกับกระดาษอะไรจะปลิวไป นักเรียนที่มีปัญหาด้านความบกพร่องทางการเรียนรู้จะเปรียบเทียบไม่ได้ว่าอะไรหนักหรือเบากว่ากัน ลักษณะการสอนเช่นนี้เป็นการสอนเปรียบเทียบและต้องสอนต่อว่าถ้ากระดาษปลิวเพราะอะไร
       
       4.การอ่านการ์ตูน เราต้องทำเป็นเรื่องราวสอนเกี่ยวกับตัวเลข บวก ลบ คูณหารเด็กจะสนุกกับภาพการ์ตูนและจะเรียนรู้ได้มากขึ้น
       
       5.การเล่นบทบาทสมมติ อาจจะให้เด็กนักเรียนในชั้นออกมานับหนังสือ 20 เล่ม จากนั้นให้เพื่อนออกมาหน้าชั้นเรียนอีก 5 คน นักเรียนคิดว่าจะได้คนละกี่เล่ม จากนั้นเด็กก็จะเริ่มแจกจนหนังสือหมด แล้วเด็กจะได้คำตอบเป็นการสอนเรื่องการหาร
       
       6.เกม ซึ่งจะใช้เกมเศรษฐีและการทอยลูกเต๋า เป็นการสอนเรื่องตัวเลข เด็กจะรู้ว่าแต้มไหนมากกว่าแต้มไหนน้อยกว่า
   
    การสอนวิชาการเพียงอย่างเดียวจะใช้ไม่ได้ผลกับเด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ เด็กจะชอบความสนุกต้องออกแบบการเรียนการสอนที่เน้นทั้งการเรียนและการเล่นให้อยู่ด้วยกัน การเรียนลักษณะนี้เป็นรูปธรรมชัดเจน เด็กจะเข้าใจง่ายเรียนรู้ได้เร็ว
   
    ครูไทยบางคนไม่ชอบการปรับการเรียนการสอน บางคนติดอยู่กับขั้นตอนมากเกินไป และจะไม่สนุกในการทำกิจกรรมกับเด็กแต่ถ้าเป็นครูที่เข้าใจและสอนไปเล่นไปก็จะสอนเด็กกลุ่มนี้ได้ดี
    
    ครูที่เข้าใจเด็กและสอนด้วยความเข้าใจว่าเด็กมีความหลากหลาย ต้องปรับวิธีการสอนให้หลากหลายมากขึ้น คิดว่ามีมากขึ้นกว่าในอดีต และวิธีการสอนเด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ก็เป็นอีกวิธีการหนึ่งที่ครูไทยควรจะได้เรียนรู้เพื่อปรับใช้ในการสอนต่อไป


วันอาทิตย์ที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2559

สรุปตัวอย่างการสอนคณิตศาสตร์

สรุปตัวอย่างการสอนคณิตศาสตร์


คณิตฯ ปฐมวัย ตัวเลขกับเด็กอนุบาล
โทรทัศน์ครู
รายการ DLIT PLC พัฒนาวิชาชีพครู

   การเรียนการสอนขั้นพื้นฐานระดับปฐมวัยที่โรงเรียนประถมเกรตบาร์ ในเบอร์มิงแฮม มีการปรับปรุงการเรียนการสอน ครูที่นี่สอนให้เด็กเรียนรู้คณิตศาสตร์เป็นรายบุคคล โดยโรงเรียนที่นี่เชื่อว่าปรัชญาขั้นพื้นฐานของเด็กปฐมวัยเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีในการให้ครูและนักเรียนมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน เช่น การเอาตุ๊กตาหมีใส่ในกล่องแล้วให้เด็กดู และถามจำนวนว่ามีกี่ตัว ทางโรงเรียนคิดว่าถ้าสามารถทำให้เด็กรู้สึกมั่นใจกับการคิดเลขและการใช้ตัวเลขตั้งแต่เนิ่นๆจะมีผลต่อมาตรฐานการเรียนคณิตศาสตร์ของทั้งโรงเรียน
   Amanda mickenna (หัวหน้าอาจารย์ระดับชั้นเด็กเล็ก) กล่าวว่า "เราสังเกตว่าเด็กมักจะพูดว่าไม่เก่งคณิต ซึ่งส่วนใหญ่มาจากผู้ปกครองที่ไม่เก่งคณิต และถ่ายทอดความกลัวนั้นให้กับลูก ๆ เราไม่พยายามไม่ทำให้คณิตเป็นเรื่องใหญ่ เด็กจะต้องได้มีการเรียนรู้ตัวเลข การลำดับตัวเลข และการนับจำนวน ซึ่งเป็นทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ เพื่อเพิ่มโอกาสการสอนให้มากขึ้น เพราะเราเชื่อว่าต้องมีความสมดุลกันระหว่างกิจกรรมที่ตัวครูเอง เน้นให้เด็กได้คิดริเริ่มเอง "
   Rachel Bailey (อาจารย์เนิร์สเซอรี) กล่าวว่า "ตอนแรกต้องทำให้เด็กสนใจตัวเลข รูปร่าง และทำกิจกรรมที่มีเรื่องพวกนี้รวมอยู่ แล้วเด็กๆ ก็จะเริ่มคุ้นเคยกับตัวเลขและการนับ การจัดกิจกรรมขึ้นมาจะต้องรู้ว่าให้เด็กได้อะไรจากมัน แล้วต้องปล่อยให้เด็กเป็นผู้นำกิจกรรมนั้นด้วย เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้เป็นรายบุคคล ครูต้องหาทางสอนเด็กแต่ละคนผ่านชุดกิจกรรมที่เลือกมาเป็นอย่างดี แล้วบันทึกว่าเด็กได้อะไรบ้างจากกิจกรรมนั้น และพยายามให้เด็กแต่ละคนสนุกกับการเรียนคณิตศาสตร์ เราพยายามที่จะใช้เพลงเป็นสื่อในการสอน เพราะการใช้เพลงมาเป็นส่วนประกอบจะทำให้เด็กรู้สึกสนุกในคณิตศาสตร์ เพราะมีจังหวะและท่าทางประกอบ ซึ่งจะทำให้นเด็กได้มีความรู้ที่หลากหลายมากยิ่งขึ้น"

   การให้เด็กร้องเพลงเกี่ยวกับการสมมุติว่าไปซื้อของในตลาดซุปเปอร์มาเก็ต  แล้วซื้ออะไรมาบ้าง มีจำนวนเท่าไร ซึ่งกิจกรรมนี้ทำให้เด็กทุกคนได้มีส่วนร่วม และยังส่งเสริมให้เด็กได้เรียนรู้ว่าสิ่งนี้คืออะไร จากของจริงที่ครูนำมาเป็นส่วนประกอบ ซึ่งในกิจกรรมส่งผลให้เด็กได้เรียนรู้หลายอย่างที่นอกเหนือจากคณิตศาสตร์อีกด้วย

   ในเทอมแรกเด็กจะได้เรียนรู้ในเรื่องของการนับ บวก ลบ ตัวเลข เช่น กิจกรรมที่ให้เด็กนับของ 3 อย่างที่อยู่ตรงหน้าของพวกเขาได้   

   การเล่นหรือการทำกิจกรรมข้างนอก ทำให้เด็กได้มีส่วนร่ามมากขึ้น และยังสร้างสิ่งที่ท้าทายใหม่ๆให้กับครู เพราะจะต้องคอยสังเกตและติดตามพัฒนาการของเด็กว่าครูจะต้องทำอย่างไรต่อไปในการจัดการเรียนการสอนในโรงเรียนซึ่งแต่ละเทอมที่จะไม่จัดการสอนในเนื้อหาเก่า แต่จะมีการสอนเนื้อหาใหม่ให้กับเด็ก 
    carole (อาจารย์ผู้ช่วย) กล่าวว่า "เวลาที่ฉันสอนเด็กที่ไม่ค่อยเก่ง ฉันไม่เคยทำให้เด็กรู้สึกว่าฉันรู้คำตอบ โดยการสอนตัวเลขโดยจำนวนตุ๊กตาแต่ละสีที่เรียงกันอย่างมากมายว่าจะทำอย่างไรให้ง่ายต่อการนำมาใช้ให้เร็วที่สุดโดยให้เด็กออกความคิดเห็น เพื่อกระตุ้นให้เด็กได้มีพัฒนาการในการคิดมากขึ้น"      การติดตามผลการเรียนโรงเรียนมีการติดตามที่ดีมาก เริ่มตั้งแต่ชั้นเนิร์สเซอรี โดยจะติดตามเด็กเป็นรายบุคคล ซึ่งดีต่อครูมากเพราะจะทำให้เราได้เรียนรู้เด็กแต่ละคนมีพัฒนาการไปถึงไหนแล้ว และเด็กต้องพัฒนาในเรื่องใดบ้าง แล้วก็จะใช้ข้อมูลนั้นไปวางแผนต่อไปรายงานกับผู้ปกครอง และคุณครูคนอื่นๆ ซึ่งมีประโยชน์มากที่จะรวบรวมข้อมูลนั้นไว้ในที่เดียว   
    ครูทุกคนจำเป็นที่จะต้องมีกระดาษโน้ตไว้ใช้ ส่วนมากจะใช้กับสิ่งที่บังเอิญเกิดขึ้นกับตัวเด็ก เราเห็นอะไรที่คิดว่าน่าสนใจ เราจะเขียนลงบนกรัดาษเเล้วติดไว้บนกระดานในแต่ละวันทันทีแล้วแต่ละสัปดาห์ก็จะมีการปรึกษาหารือกันกับคุณครูทุกคนในชั้น โดยการวางแผนต่อไปว่าจะจัดการเรียนเรื่องอะไรให้กับเด็ก


   

บันทึกการเรียนครั้งที่ 2

บันทึกการเรียนการสอน

ครั้งที่ 2 


วันศุกร์ ที่ 15 มกราคม 2559 เวลาเรียน 08.30-12.30


เนื้อหาที่เรียน
   วันนี้มีกิจกรรมที่คณะ อาจารย์จึงสอนไปด้วย และลงไปดูกิจกรรมที่คณะไปด้วย ก่อนที่จะเริ่มเข้าสู่เนื้อหาการเรียนอาจารย์ก็แจกกระดาษมาแล้วให้นักศึกษาแจกกัน โดยให้หยิบคนละหนึ่งแผ่น แล้วส่งต่อกันไปโดยเรียกว่าการแจกแบบ 1:1 เพื่อเป็นการลดระยะเวลาให้สั้นลง และมีนักศึกษาอยู่ 4 คน ที่ไม่ได้รับกระดาษ อาจารย์จึงเรียกว่ากระดาษน้อยกว่าคน หรือ คนมากกว่ากระดาษ แล้วอาจารย์ก็หยิบกระดาษมาให้เพิ่ม และหลังจากนั้นอาจารย์ก็สอนเกี่ยวกับเรื่องหัวข้อสำคัญการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย โดยอาจารย์อธิบายแล้วให้นักศึกษาทำเป็น mild mapping เพื่อสรุปหัวข้อและเนื้อหาที่สำคัญๆไว้เพื่อเป็นความรู้ต่อไป

ทักษะ/ระดมความคิด 
   การคิดและการแก้ปัญหาในการแจกกระดาษ และได้ระดมความคิดร่วมกันในหัวข้อ หรือประเด็นสำคัญที่อาจารย์กำหนดให้


ประเมิน
บรรยากาศในห้องเรียน
   สภาพอากาศในห้องเรียนค่อนข้างเย็น นักศึกษาที่มีเสื้อแขนยาวก็พากันเอาออกมาใส่

การจัดการเรียนการสอน
   เนื่องจากวันนี้มีกิจกรรมอาจารย์ก็เคยต้องไปเข้าร่วมกิจกรรมด้วย อาจารย์จึงตั้งใจสอนนักศึกษาเพื่อที่จะได้ความรู้อย่างเต็มที่ ก่อนที่อาจารย์จะไปเข้าร่วมกิจกรรมวันครู อาจารย์ก็สั่งงานให้นักศึกษาไปทำบล็อค โดยให้นักศึกษาสรุป บทความ วิจัย และตัวอย่างการสอน อาจารย์ให้นักศึกษาสอบถามได้เต็มที่ เมื่อไม่เข้าใจตรงไหนก็จะอธิบายให้ฟังอย่างละเอียด

วิเคราะห์ตนเอง
  เข้าใจเนื้อหาที่อาจารย์สอน และทำแผนผังความคิดจากเรื่องที่อาจารย์เป็นสำนวนภาษาของตนเองเพื่อความเข้าใจมากยิ่งขึ้น 

วันพฤหัสบดีที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2559

สรุปงานวิจัย

สรุปงานวิจัย

การจัดการเรียนรู้แบบเด็กนักวิจัยที่มีผลต่อทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

ปริญญานิพนธ์ ของ ศิริลักษณ์ วฒุิสรรพ์

เสนอต่อบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษา ตามหลักสูตรปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย ตุลาคม 2551 ลิขสิทธิ์เป็นของมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ


   ศิริลักษณ์ วฒุิสรรพ์ ศึกษาและเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยโดยรวมและรายด้าน ก่อนและหลังได้รับการจัดการเรียนรู้แบบเด็กนักวิจัย

กลุ่มตัวอย่าง ที่ใช้ในการวิจัยเป็นเด็กนักเรียนชาย – หญิง อายุระหว่าง 5 – 6 ปีชั้นอนุบาลปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 1  ปีการศึกษา 2551 ที่โรงเรียนบ้านสามแยก สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษากําแพงเพชร เขต 2 ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจงจํานวน 15 คน จากห้องที่ผู้วิจัยเป็นครูประจําชั้น เพื่อรับการจัดการเรียนรู้แบบเด็กนักวิจัย

ระยะเวลา 8 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 4 วัน วันละ  40 – 50 นาที 

เครื่องมือที่ใช้ ในการวิจัยคือ แผนการจัดการเรียนรู้แบบเด็กนักวิจัยและแบบทดสอบเชิงทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นได้ค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่างพฤติกรรมกับจุดประสงค์(IOC) อยู่ ระหว่าง 0.60 – 1.00 และ มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.80 ใช้แผนการวิจัยแบบ One – Group Pretest – Posttest Design และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบวัดซ้ํา

วิธีดําเนินการทดลอง
   การวิจัยครั้งนี้ดําเนินการทดลองในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2551 เป็นเวลา 8 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 4 วัน วันละ 40 - 50 นาทีรวมระยะเวลาทดลองทั้งสิ้น 32 ครั้ง ซึ่งมีขั้นตอนดังนี้
1.   ขอความร่วมมือกับผู้บริหารโรงเรียนในการทําวิจัย 
2.   แจ้งให้ผู้ปกครองรับทราบเกี่ยวกับวิธีการจัดการเรียนรู้แบบเด็กนักวิจัย เพื่อขอความร่วมมือในการเป็น วิทยานิกร และสนับสนุนการจัดการเรียนรู้แบบเด็กนักวิจัย 
3.   สร้างความคุ้นเคยกับเด็กกลุ่มตัวอย่าง และจัดเตรียมสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมต่อการจัดการเรียนรู้แบบเด็กนักวิจัยเป็นระยะเวลา 1 สัปดาห์
4.   ทําการทดสอบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กกลุ่มตัวอย่างก่อนการทดลอง จํานวน 15 คน ด้วยแบบประเมินเชิงปฏิบัติทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์จํานวน 4 ชุด โดยทําการทดสอบวันละ 1 ชุด เป็นเวลา 4 วัน 
5.   ผู้วิจัยดําเนินการทดลองโดยจัดการเรียนรู้แบบเด็กนักวิจัยกับกลุ่มตัวอย่างใช้เวลา 8 สัปดาห์ ๆ ละ 4 วันๆ ละ 40 - 50 นาที ช่วงกิจกรรมเสริมประสบการณ์ เริ่มเวลา 09.00 – 09.50 น. จนสิ้นสุดการทดลองรวมทั้งสิ้น 32 ครั้ง ในการจัดการเรียนรู้ แบบเด็กนักวิจัยแบ่งเป็น 3 ขั้นตอน คือ ขั้นทบทวนความรู้และเลือกหัวข้อเนื้อหาที่สนใจ ขั้นเด็กค้นคว้าวิจัยหาความรู้และขั้นการประเมินผล 
6.   กําหนดการทดลองโดยกําหนดหัวข้อเรื่องในการเรียนรู้ตามความต้องการของเด็กซึ่ง อยู่ในขั้นทบทวนความรู้และเลือกหัวข้อเนื้อหาที่สนใจของการจัดการเรียนรู้แบบเด็กนักวิจัยปรากฏ
7.   ขณะจัดการเรียนรู้แบบเด็กนักวิจัยผู้วิจัยทําการบันทึกการสังเกตพฤติกรรมการร่วม กิจกรรมของเด็กปฐมวัยทุกครั้ง 
8.   เมื่อสิ้นสุดการทดลองผู้วิจัยได้ทําการทดสอบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์หลัง การทดลองไปทดสอบกับกลุ่มตัวอย่างจํานวน 15 คน ด้วยแบบประเมินเชิงปฏิบัติทักษะ พื้นฐานทางคณิตศาสตร์วันละ 1 ชุด เป็นเวลา 4 วัน 
9.   นําข้อมูลที่ได้ จากการทดลองไปทําการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ



ตัวอย่างการจัดการเรียนรู้




   ผลการศึกษาพบว่า หลังการจัดการเรียนรู้แบบเด็กนักวิจัยเด็กปฐมวัยมีค่าเฉลี่ยทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ โดยรวมแตกต่างจากก่อนการจัดการเรียนรู้แบบเด็กนักวิจัยอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ P<0.05 โดยการทดลองครั้งนี้ส่งผลต่อทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ โดยรวมร้อยละ 93.4 และมีค่าเฉลี่ยทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ รายด้านแตกต่างจากก่อนการ จัดการเรียนรู้แบบเด็กนักวิจิยอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ P<0.05 ทุกด้านคือ ด้านการจําแนกประเภท ด้านการเปรียบเทียบ ด้านการรู้ค่าจํานวน 1–10 และด้านการเพิ่ม - การลดภายในจํานวน 1 – 10 และโดยการทดลองครั้งนี้ส่งผลต่อ ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ด้านการจําแนกประเภทร้อยละ 89.3 ด้านการเปรียบเทียบร้อยละ  94.3 ด้านการรู้ค่าจํานวน 1–10 ร้อยละ 90.8 และด้านการเพิ่ม - การลดภายในจํานวน 1 – 10 ร้อยละ 69.0 
ตามลําดับ




ที่มา : การจัดการเรียนรู้แบบเด็กนักวิจัยที่มีผลต่อทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย





วันเสาร์ที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนครั้งที่ 1

บันทึกการเรียนการสอน

ครั้งที่ 1 

วันศุกร์ ที่ 8  เดือน มกราคม 2559  เวลาเรียน  8:30 - 12:30น.


เนื้อหาที่เรียน

   อาจารย์ให้นักศึกษาบอกลักษณะเด่นของตนเอง โดยไม่ต้องเขียนชื่อ แล้วอาจารย์จะอ่านลักษณะเด่นของแต่ละคนแล้วดูว่า นักศึกษาคนไหนที่เป็นไปตามลักษณะที่เขียนไว้ เพื่อเป็นการฝึกสังเกตลักษณะภายนอกให้ถูกต้อง และสอนวิธีการทำ Blogger เพื่อทำเป็นแฟ้มสะสมผลงานของตัวเอง


ทักษะ

   ได้ฝึกระดมความคิดว่าใครมีวิธีแบ่งกระดาษแบบไหนให้เท่ากับจำนวนคน


การนำไปประยุกต์ใช้

   การนำวิธีการคิดในการแบ่งกระดาษ สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอน และยังทำให้ฝึกคิดเพื่อบริหารสมองได้


ประเมิน

บรรยากาศในชั้นเรียน

   รู้สึกสบายใจ และสนุกสนานในการเรียน


การจัดการเรียนการสอน

   อาจารย์พูดคุยเป็นกันเอง มีการจัดเตรียมการเรียนการสอน อุปกรณ์ต่างๆมาครบถ้วน


วิเคราะห์ตัวเอง

   เข้าใจเนื้อหา และข้อตกลงร่วมกันภายในห้อง