วันเสาร์ที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 13

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 13 (เรียนชดเชย)
วันพฤหัสบดีที่ 28 เมษายน 2559
เวลาเรียน 8.30-12.30 น.


ความรู้ที่ได้รับ
   วันนี้อาจารย์สอนเกี่ยวกับวิธีการเขียนแผนการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยที่จำเป็นที่จะใช้สำหรับการสอน ซึ่งเนื้อหาประกอบไปด้วย 
    1.สาระที่ควรเรียนรู้ 
    2.เนื้อหา
    3.แนวคิด 
    4.ประสบการณ์สำคัญ ทั้ง 4 ด้าน ประกอบด้วย ด้านร่างกาย ด้านอารมณ์ ด้านสังคม และด้านสติปัญญา
    5.กรอบพัฒนาการและกิจกรรม ทั้ง 4 ด้าน ตามประสบการณ์สำคัญ
    6.การบูรณาการทักษะรายวิชาตามหน่วยเรื่อง
    7.แผนการจัดประสบการณ์
    8.เทคนิคการจัดกิจกรรมโดยการใช้คำถามปลายเปิด
และให้คำแนะนำในการทำนิทานของแต่ละกลุ่ม ว่าควรเพิ่มเติม หรือเสริมอะไร





        **สาระที่ควรเรียนรู้มี 4 ข้อ คือสิ่งเเวดล้อมรอบตัว ธรรมชาติรอบตัว บุคคลและสถานที่ และสิ่งต่างๆรอบตัว
       ***ประสบการณ์สำคัญ คือ สิ่งที่ต้องการให้เกิดขึ้นกับเด็ก ทำให้เกิดการเรียนรู้ เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม ต้องได้เรียนรู้โดยการลงมือกระทำก่อน


ทักษะ/ระดมความคิด
   -ทักษะการคิดกิจกรรมเกมการศึกษา กิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์
   -การแสดงความคิดเห็น
   -การวางแผน
   -การบูรณาการเนื้อหากับสาระการเรียนรู้ศิลปะสร้างสรรค์ คณิตศาสตร์
   -การวิเคราะห์
   -ความคิดสร้างสรรค์/จินตนาการ

ประเมิน
บรรยากาศในห้องเรียน
    อุปกรณ์การสอนไม่ค่อยพร้อมเนื่องจากเป็นอาคารที่เพิ่งสร้างเสร็จใหม่ อากาศเย็นสบาย เพื่อนๆมาเรียนเกือบครบทุกคน และให้ความร่วมมือในการตอบคำถามกับอาจารย์ มีการตอบโต้กันระหว่างอาจารย์กับนักศึกษาเป็นบรรยากาศที่อบอุป

การจัดการเรียนการสอน
  อาจารย์สอนสนุกทุกครั้งเวลาสอนเนื้อหาอาจารย์จะมีการยกตัวอย่างเพื่อให้นักศึกษาได้เข้าใจได้ง่ายขึ้น และให้ความเป็นกันเองกับนักศึกษา เมื่อนักศึกษามีปัญหาหรือไม่เข้าใจในเนื้อหาอาจารย์ก็จะอธิบายซ้ำให้ฟังอีกครั้ง เเละเพิ่มเติมเนื้อหาเพื่อให้คิดออกและเห็นภาพได้ง่าย ทำให้เข้าใจง่ายขึ้น

ประเมินตนเอง
   ตั้งใจเรียน ตั้งใจฟังที่อาจารย์สอน พยายามทำความเข้าใจในเนื้อหาที่เรียน จดบันทึกเนื้อหาหรือข้อความที่สำคัญ ที่เป็นประโยชน์ต่อการเรียนการศึกษา 

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 12

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 12
วันศุกร์ที่ 22 เมษายน 2559
เวลาเรียน 8.30-12.30 น.

ความรู้ที่ได้รับ
   อาจารย์ให้นักศึกษาแต่ละกลุ่มช่วยกันแต่งนิทานตามหน่วยที่ตนเองได้กลุ่มละ 1 เรื่อง กลุ่มของฉันได้หน่วยตัวฉัน แต่งนิทานเกี่ยวกับประโยชน์ของตัวฉัน ชื่อเรื่อง ความรู้ดีของพลอยใจ โดยในเนื้อเรื่องจะพูดถึงความดีเช่น ช่วยพ่อแม่ทำงานบ้าน ใช้บูรณาการทางคณิตศาสตร์โดยการนำเรื่องช่วงเวลาเข้ามาสอนเช่น เช้า สาย บ่าย เย็น และให้แต่ละกลุ่มระดมความคิด และช่วยกันเขียนแผนการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์ทั้ง 5 วัน ตามหน่วยต่างๆ ของเเต่ละกลุ่มขึ้นมา

ทักษะ/ระดมความคิด
   -ได้ใช้ความคิดสร้างสรรค์ จินตนาการสำหรับนิทาน 
   -การเชื่อมโยงนิทานกับคณิตศาสตร์
   -ทักษะในการจัดประสบการณ์นิทานให้เหมาะสมกับเรื่องราวเนื้อหา

ประเมิน
 บรรยากาศในห้องเรียน
   ห้องเรียนสะอาด น่าเรียน อากาศเย็นสบาย เพื่อนๆมาเรียนเกือบครบทุกคน และทุกคนก็ช่วยกันทำงานอย่างตั้งใจ มีการปรึกษาหารือกันเงียบๆภายในกลุ่ม ไม่เสียงดัง

 การจัดการเรียนการสอน
   การเรียนการสอนดำเนินไปได้ด้วยดี อาจารย์เป็นกันเอง และเดินดูนักศึกษาทุกกลุ่ม แล้วก็จะคอยให้คำแนะนำ คำปรึกษาในการทำกิจกรรมว่าควรทำแบบไหน ทำยอย่างไร

 ประเมินตนเอง
   ไม่ค่อยเข้าใจในเรื่องข้อควรระวัง ต้องไปถามอาจารย์ให้อธิบายให้เข้าใจใหม่ และได้ใช้ความคิดในการเขียนแผนการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์ก่อนการลงมือฝึกปฏิบัติจริง

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 11

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 11
วันศุกร์ที่ 1 เมษายน 2559
เวลาเรียน 8.30-11.30 น.

เนื้อหาที่เรียน

   การสอนการจัดประสบการณ์ โดยบูรณาการกับทักษะทางคณิตศาสตร์ ประกอบด้วย 5 หน่วย ดังนี้
หน่วยที่ 1 ผัก
หน่วยที่ 2 ยานพาหนะ
หน่วยที่ 3 ผีเสื้อ
หน่วยที่ 4 ผลไม้
หน่วยที่ 5 ตัวฉัน


  •  การจัดประสบการณ์ หน่วยผัก จัดสอนวันจันทร์ เรื่อง ประเภทของผัก
การสอน
  -ให้เด็กอ่านคำคล้องจองเกี่ยวกับประเภทผัก ถามเด็กเกี่ยวกับคำคล้องจองว่ามีกี่ชนิด อะไรบ้าง(ทักษะการคิด คำนวณ สังเกต) 
  -ให้เด็กแยกประเภทผัก
  -สรุปประเภทผัก ผักกินดอก ผักกินใบ และผักกินหัว
  -จัดประสบการณ์โดยบูรณาการทางคณิตศาสตร์ โดยการถามคำถามว่าเด็กชอบกินผักชนิดไหนมากที่สุด เด็กได้เรียนรู้คณิตศาสตร์ผ่านการนับแบบ1ต่อ1หรือ จำนวนมากที่สุด หรือน้อยที่สุด ดังนี้ 

                             การนับ>>>บอกจำนวน>>>แทนค่าตัวเลข>>>บอกลำดับ




  • การจัดประสบการณ์ หน่วยผีเสี้อ จัดสอนวันจันทร์ เรื่อง ประเภทผีเสื้อ
การสอน
   -ครูและเด็กร่วมกันร้องเพลงผีเสื้อ
   -นำสื่อ(รูปผีเสื้อ)ให้เด็กดู
   -สนทนา/ถาม ความรู้เดิมเกี่ยวกับผีเสื้อ
จัดประสบการณ์โดยบูรณาการทางคณิตศาสตร์ให้เด็กโดยนับแยกประเภทและบอกจำนวนผีเสื้อดังนี้
   - นับแล้วบอกจำนวนสุดท้ายให้แทนค่าด้วยตัวเลขฮินดูอารบิก 
   - การแยกออกจากกลุ่ม(เป็นการลบ) 
   - การเปรียบเทียบเพื่อหาจำนวนมากกว่า จำนวนน้อยกว่า



  • การจัดประสบการณ์ หน่วยผลไม้ จัดสอนวันอังคาร เรื่อง ลักษณะผลไม้
การสอน
   -อ่านคำคล้องจองเพลงผลไม้
   -ให้เด็กได้เรียนรู้จัก ลักษณะผลไม้ คือ ผลกลุ่ม ผลเดี่ยว โดยการให้เด็กได้ดูภาพแล้วตอบว่าเป็นรูปอะไร อธิบายลักษณะที่แตกต่างกันระหว่าง ผลกลุ่ม ผลเดี่ยว
   -ติดภาพผลกลุ่ม ผลเดี่ยว(เด็กมีส่วนร่วม)
   -ให้เด็กออกมาเขียนจำนวนผลกลุ่ม ผลเดี่ยว(เด็กมีส่วนร่วม)
จัดประสบการณ์โดยบูรณาการทางคณิตศาสตร์ให้เด็กโดยการนับจำนวน แบบ 1ต่อ1 การเรียนรู้ค่าตัวเลข รู้จักตัวเลข การเปรียบเทียบค่าน้อยกว่า มากกว่า
   หมายเหตุ:ลักษณะของผลไม้ควรประกอบด้วย รูปทรง ใบ เมล็ด เปลือก เนื้อ และรสชาด



  • การจัดประสบการณ์ หน่วยยานพาหนะ จัดสอนวันอังคาร เรื่อง ลักษณะของยานพาหนะ
การสอน
   -สื่อปริศนาคำทาย
   -ทบทวนความรู้เดิมเกี่ยวกับยานพาหนะที่เด็กรู้จัก
   -ให้เด็กดูภาพยานพาหนะ 3 ภาพ คือ รถยนต์ เรือ และเครื่องบิน
   -ครูถามเด็กเกี่ยวกับลักษณะของยานพาหนะทั้ง 3 ประเภท ที่เด็กสังเกตเห็นประกอบด้วย สี ขนาด รูปร่าง และส่วนประกอบ แล้วจดบันทึกลงตารางข้อมูล
   -ครูสรุปลักษณะยานพาหนะตามตารางข้อมูล
จัดประสบการณ์โดยบูรณาการทางคณิตศาสตร์ให้เด็กโดย การนับ การแทนค่าตัวเลข การเปรียบเทียบ



  • การจัดประสบการณ์ หน่วยตัวฉัน จัดสอนวันอังคาร เรื่อง อวัยวะต่างๆ
การสอน
   -สอนร้องเพลงอวัยวะ
   -สนทนาถามเด็กเกี่ยวกับอวัยวะต่างๆของร่างกาย 
   -ให้เด็กดูภาพอวัยวะต่างๆของร่างกาย ชาย-หญิง ประกอบการสอน
จัดประสบการณ์โดยบูรณาการทางคณิตศาสตร์ให้เด็กโดย การนับ จำนวน ตัวเลข





ทักษะ/ระดมความคิด
   -บทความ การไปซุปเปอร์มาเก็ตแล้วให้เด็กสังเกตป้ายราคาสินค้าทำให้เด็กได้เรียนรู้จำนวน ตัวเลข จากราคาสินค้า สอนให้เด็กรู้จักค่ามาก ค่าน้อย และการสังเกตสิ่งรอบๆตัวในการใช้ชีวิตประจำวันเช่นป้ายทะเบียนรถ ให้เด็กได้เรียนรู้ตัวเลขจากรถ รู้จักการบวก-ลบป้ายทะเบียนรถ
   -ตัวอย่างการสอน เป็นการสอนของครูท่านหนึ่งที่นำของที่อยู่รอบตัวมาเป็นสื่อในการสอน เช่น การทำขนมเปียกปูน ให้เด็กได้ดูของจริง ได้เรียนรู้ที่จะลงมือทำ ได้รู้จักรูปทรงของขนมที่ทำ แล้วก็สามารถทำมาเชื่อมโยงกับความรู้ทางคณิตศาสตร์เพื่อเสริมสร้างประสบการณ์ทั้งหมด
   -งานวิจัย เป็นการนำสื่อที่หาได้ง่ายมาใช้สำหรับการสอน และบูรณาการสอนที่สำคัญจากสื่อได้ เช่น การนำดอกไม้มาจำแนกประเภท
  • ทักษะการคิด/แก้ไขปัญหา
  • ทักษะการวิเคราะห์
  • การเชื่อมโยงกิจกรรมกับคณิตศาสตร์
  • การเปรียบเทียบ
  • จำนวน ตัวเลข
ประเมิน
 บรรยากาศในห้องเรียน
   ห้องเรียนสะอาด มีความเป็นระเบียบเรียบร้อย อากาศเย็นสบาย เพื่อนๆตั้งใจเรียนและตั้งใจทำกิจกรรมมาก และให้ความร่วมือในการทำกิจกรรมต่างๆ มีการแสดงความคิดเห็น และมีส่วนร่วมในการตอบคำถาม

 การจัดการเรียนการสอน
  ่อาจารย์มีการเตรียมการเรียนการสอนมาดี อธิบายเนื้อหาให้นักศึกษาฟังเป็นจุดจุด สร้างประเด็นในการเรียนการสอน และชี้แนะ ให้คำปรึกษาในการทำกิจกรรม

 ประเมินตนเอง
   ตั้งใจเรียน ทำความเข้าใจในเนื้อหาที่เรียน จดบันทึกประเด็นที่สำคัญในการเรียนการสอนทุกครั้ง ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมต่างๆในห้องเรียน


วันอาทิตย์ที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 10

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 10
วันศุกร์ที่ 25 มีนาคม 2559
เวลาเรียน 8.30-12.30 น.


ความรู้ที่ได้รับ

  วันนี้เริ่มการเรียนการสอนโดย เพื่อนออกมานำเสนอ 
  • บทความทางคณิตศาสตร์  -เรื่อง การเชื่อมโยงสิ่งที่เห็นกับชีวิตประจำวัน 
  • ตัวอย่างการสอนทางคณิตศาสตร์-เรื่อง การเรียนรู้การนับจำนวน หน่วยไข่
  • งานวิจัยทางคณิตศาสตร์ -เรื่อง การเปรียบเทียบความพร้อมเกมการศึกษาและเพลงกับการใช้ตามคู่มือของครูของมหาวิทยาลัยศิลปากร
 การสอนแบบเสริมประสบการณ์ โดยบูรณาการกับทักษะทางคณิตศาสตร์
   อาจารย์ให้นักศึกษานั่งตามกลุ่มของตนเอง ซึ่งแต่ละกลุ่มจะมีทั้งหมด 5 คน เพื่อให้ครอบคลุมเนื้อหาในเเต่ละหน่วย จึงแบ่งหัวข้อให้ครบ 5 วัน ซึ่งมีหน่วยดังนี้
-หน่วยยานพาหนะ
-หน่วยตัวฉัน-
-หน่วยผีเสื้อ
-หน่วยผลไม้
-หน่วยผัก

   หัวข้อการสอนในแต่ละวัย
วันจันทร์: ชื่อ/อายุ
วันอังคาร: ลักษณะ
วันพุธ: สถานที่
วันพฤหัสบดี: ประโยชน์ของฉัน
วันศุกร์: ข้อควรระวัง

    อาจารย์อธิบายวิธีการทำแผนการสอนแต่ละหัวข้อในแต่ละวัน โดยให้นำการประยุกต์สาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์มาบูรณาการในการสอนด้วย
   สาระที่ 1 จำนวนและการดำเนินการ
   สาระที่ 2 การวัด
   สาระที่ 3  เรขาคณิต
   สาระที่ 4 พีชคณิต
   สาระที่ 5 การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
   สาระที่ 6 ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์

ทักษะ/ระดมความคิด
  -ทักษะการนับ/บอกค่า
  -ทักษะการคิด
  -ทักษะการวิเคราะห์
  -การแก้ไขปัญหา
  -การสังเกต
  -การวางแผน
  -การจินตนาการ
  -การแสดงความคิดเห็น

 ประเมิน
บรรยากาศในห้องเรียน
   ห้องเรียนสะอาด เป็นระเบียบเรียบร้อย ไม่แออัด บรรยากาศเย็นสบาย เพื่อนๆตั้งใจเรียน และช่วยการตอบคำถาม และแสดงความคิดเห็น

การจัดการเรียนการสอน
   อุปกรณ์/สื่อในการเรียนการสอนไม่พร้อม เนื่องจากอาคารใหม่ แต่อาจารย์ก็ต้องใจสอนมาก พยายามให้ความรู้แก่นักศึกษาให้มากที่สุด ทุกครั้งเวลาสอนเนื้อหาอาจารย์จะมีการยกตัวอย่างเพื่อให้นักศึกษาได้เข้าใจได้้ง่ายขึ้น เเละถ้าใครมีปัญหาหรือไม่เข้าใจในเนื้ออาจารย์ก็จะอธิบายซ้ำให้ฟังอีกครั้ง เเละเพิ่มเติมเนื้อหาเพื่อให้คิดออกและเห็นภาพได้ง่าย ทำให้เข้าใจ

วิเคราะห์ตนเอง
   ตั้งใจฟังที่อาจารย์สอน จดบันทึกเนื้อหาที่สำคัญ พยายามทำความเข้าใจกับเนื้อหาให้มากขึ้น ทำให้เข้าใจได้ง่าย
   

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 9

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 9
วันศุกร์ที่ 18 มีนาคม 2559
เวลาเรียน 8.30-12.30 น.

ความรู้ที่ได้รับ
   
   วันนี้อาจารย์สอนเกี่ยวกับการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่จะนำไปสอนจริง โดยจัดให้สอดคล้องกับสาระการเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์ ทั้ง 5 วัน เพื่อให้เด็กได้เรียนรู้และได้ประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์จากการบูรณาการ
  

  •  อาจารย์ได้ยกตัวอย่างหลายหน่วยให้ดู ยกตัวอย่างเช่น หน่วยนก

       1.ประเภท(ชนิด)
       2.ลักษณะ

                -รูปร่าง
                -หาง
                -ปาก
                -สี
       3. ปัจจัยในการดำรงชีวิต
                -ทางน้ำ
                -ทางบก
        4. ประโยชน์
                -อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
        5. ข้อควรระวัง/โทษ


ทักษะ/ระดมความคิด
  -ทักษะในการวิเคราะห์
  -ทักษะในการคิด
  -ทักษะในการสังเกต

 ประเมิน
บรรยากาศในห้องเรียน
   บรรยากาศค่อนข้างโล่ง เนื่องจากจะมีการทุบอาคารเรียนเพื่อปรับปรุงใหม่ ทำให้มีสื่ออุปกรณ์การสอนไม่ครบ แต่ก็ไม่ได้มีปัญหาในการสอน เพราะอาจารย์จะเน้นที่การอธิบายให้นักศึกษาฟัง

การจัดการเรียนการสอน
   สื่อสำหรับการเรียนการสอนไม่พร้อม เนื่องจากมีการเคลื่อนย้ายอุปกรณ์ต่างๆออกจากอาคาร เพื่อปรับปรุบอาคารใหม่

วิเคราะห์ตนเอง
   ตั้งใจฟัง ตั้งใจเรียน พยายามจดเนื้อหาสาระที่สำคัญ

วันเสาร์ที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 8

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 8
วันศุกร์ที่ 11 มีนาคม 2559
เวลาเรียน 8.30-12.30 น.


ความรู้ที่ได้รับ

   เนื่องจากอาคารที่เรียนจะทุบก่อสร้างใหม่ ซึ่งสัปดาห์นี้เป็นสัปดาห์สุดท้ายที่จะมีการเรียนการสอนที่อาคารนี้ ดังนั้นอาจารย์จึงยุ่งกับการจัดเก็บ และขนย้ายของหรือเอกสารต่างๆ ในสัปดาห์นี้อาจารย์จึงสั่งให้นักศึกษาทำสื่อประกอบการเรียนการสอน ซึ่งมีอุปกรณ์ดังนี้

   วัสดุ/อุปกรณ์
1.ลังกระดาษ
2.ดินสอ/ยางลบ
3.ไม้บรรทัด
4.คัตเตอร์
5.กาว
6.แผ่นโฟมตัวแบบ

   ขั้นตอนการทำ
1.ใช้ดินสอวาดรูปสี่เหลี่ยมตามแผ่นโฟมตัวแบบบนลังกระดาษ
2.ตัดลังกระดาษตามรูปสี่เหลี่ยมที่วาดไว้
3.ตัดลังกระดาษจากส่วนด้านในรูปสี่เหลี่ยมที่ตัดออกตามแผ่นโฟมตัวแบบอีก 3 ชิ้น
4.ตัดลังกระดาษให้ได้ขนาดเท่ากับสี่เหลี่ยมตัวแบบ
5.นำผลงานจากขั้นที่ 2 และ ขั้นที่ 4 ติดกาวเข้าด้วยกัน เพื่อยึดเป็นฐานรอง











 ผลงาน

รูปทรงทดสอบ I.Q.


ทักษะ/ระดมความคิด
  - การคิด
  - ความน่าจะเป็น (เนื่องจากแผ่นโฟมตัวแบบหาย 1 ชิ้น)
  - รูปร่าง รูปทรง

ประเมิน
 บรรยากาศในห้องเรียน
   ห้องเรียนไม่ค่อยเป็นระเบียบเนื่องจากมีการเคลื่อนย้ายของไปที่อื่น เพื่อนๆในห้องช่วยกันทำงานที่อาจารย์สั่ง และมีเพื่อนบางส่วนไปช่วยงานอาจารย์

 การจัดการเรียนการสอน
   อาจารย์อธิบายกิจกรรมที่ให้นักศึกษาทำอย่างเข้าใจ และมีการจัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์มาครบ พร้อมในการทำกิจกรรม

 วิเคราะห์ตนเอง
   เข้าใจ และตั้งใจทำผลงานที่อาจารย์ให้ทำออกมาดีที่สุด หลังจากเสร็จแล้วก็เข้าไปช่วยงานอาจารย์ต่อ

วันอาทิตย์ที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 7

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 7
วันศุกร์ที่ 4 มีนาคม 2559
เวลาเรียน 8.30-12.30 .


ความรู้ที่ได้รับ

   วันนี้อาจารย์จะให้ทำกิจกรรม จึงให้นักศึกษาที่ต้องพรีเซนท์บทความ ตัวอย่างการสอน และงานวิจัย ออกมาพรีเซนท์ก่อนทำกิจกรรม หลังจากนำเสนอเสร็จแล้ว อาจารย์ก็ให้ทำกิจกรรมโดยการให้จับคู่ แล้วทำเกมสื่อการเรียนการสอนทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย โดยประดิษฐ์สื่อเป็นตารางจากวัสดุอุปกรณ์

   วัสดุ/อุปกรณ์
1.แผ่นลังกระดาษตัดเป็นสี่เหลี่ยมจตุรัส
2.กระดาษขาวตัดเป็นสี่เหลี่ยมจตุรัสให้เท่ากับขนาดแผ่นลังกระดาษ
3.สติกเกอร์ใส
4.กรรไกร/คัตเตอร์
5.ไม้บรรทัด
6.กาว
7.ดินสอ/ยางลบ
8.เทปกาว
9.เทปสี(ดำ)

   ขั้นตอนการทำ
1.ตีตารางให้ได้ขนาดเท่าๆกัน
2.ตัดลังกระดาษแบ่งครึ่งออกเป็น 2 ส่วนให้ได้ขนาดเท่าๆกัน
3.ตีตารางบนกระดาษขาวให้ได้ขนาดเท่าๆกัน
4.นำกระดาษขาวที่ตีตารางแล้วทากาวติดลังกระดาษที่ตัดแบ่งครึ่งออกเป็น 2 ส่วน โดยติดทีละส่วน ให้ครบทั้ง 2 ส่วน
5.ติดเทปกาวด้านหลังลังกระดาษ ตรงส่วนที่ต่อกันเพื่อให้พับได้
6.ติดเทปสีดำบนกระดาษขาวตามเส้นตารางที่ตีไว้
7.เคลือบสติกเกอร์ใส เพื่อให้ง่ายต่อการใช้ได้นาน

รูปภาพในการทำกิจกรรม











ทักษะ/ระดมความคิด
  -การคิด
  -การวางแผน
  -การวิเคราะห์ความน่าจะเป็น
  -การแก้ไขปัญหา


ประเมิน
 บรรยากาศในห้องเรียน
   ห้องเรียนสะอาด โต๊ะ เก้าอี้เป็นระเบียบเรียบร้อย บรรยากาศค่อนข้างเย็น เพื่อนๆช่วยกันตอบคำถาม และตั้งใจทำกิจกรรม

 การจัดการเรียนการสอน
   อาจารย์จะพยายามอธิบายเนื้อหาอย่างชัดเจน และละเอียด เพื่อให้นักศึกษาทำความเข้าใจได้ง่าย และเมื่อนักศึกษาคนไหนมีปัญหาไม่เข้าใจ อาจารย์ก็จะตอบทุกคำถาม

 วิเคราะห์ตนเอง
   ตั้งใจฟังอาจารย์อธิบาย จดบันทึกเนื้อหาสาระที่เป็นประโยชน์ต่อการเรียน และตั้งใจทำกิจกรรมต่างๆ

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 6

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 6
วันศุกร์ที่ 19 กุมภาพันธ์ 2559
เวลาเรียน 8.30-12.30 น.

ความรู้ที่ได้รับ

   อาจารย์แจกไม้เสียบลูกชิ้นให้นักศึกษาจำนวน 12 ไม้ แล้วให้นักศึกษาตัดส่วนที่เป็นปลายแหลมออก จากนั้นให้ตัดไม้ออกให้ได้ขนาดไม่เท่ากันดังนี้ ไม้สั้น ไม้ขนาดกลาง และไม้ยาว แล้วอาจารย์ก็แจกดินน้ำมันให้นักศึกษาคนละก้อน โดยกิจกรรรมแรกที่ให้ทำคือ อาจารย์สั่งให้ทำรูปสามเหลี่ยมจากไม้และวัสดุอุปกรณ์ที่มี ซึ่งฉันใช้ไม้ขนาดกลางจำนวน 3 ไม้


จากนั้นให้จับคู่แล้วทำรูปทรงสามเหลี่ยมจากวัสดุที่มี


ต่อไปให้ทำรูปสี่เหลี่ยม ฉันทำรูปสี่เหลี่ยมจตุรัส



และอาจารย์ให้จับคู่เหมือนเดิม แล้วให้ทำรูปทรงสี่เหลี่ยม ฉันและเพื่อนทำรูปทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้า



จากการทำกิจกรรมมีกระบวนการ การจัดการเรียนการสอนโดยการแก้ไขปัญหาดังนี้


วิเคราะห์แนวคิด
v
ศึกษาวัสดุที่มีอยู่
v
ลงมือทำ
v
ผลงาน
v
การประเมินผล
v
นำเสนอ

   การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์บูรณาการศิลปะสร้างสรรค์
การสร้างโมเดลโครงสร้างรูปทรง ให้เด็กต่อเติมเป็นรูปต่างๆ ผ่านศิลปะ โดยให้เด็กวาดภาพตามจินตนาการแล้วสามารถนำมาบูรณาการทางคณิตศาสตร์ และศิลปะได้
  การจัดประสบการณ์นั้นจะต้องสอดคล้องกับชีวิตประจำวัน ดังนี้
ระสบการณ์เดิม >นำมาสู่ประสบการณ์ใหม่ >การปรับโครงสร้าง >การรับรู้ >เพื่อเอาตัวรอด

ทักษะ/ระดมความคิด
  -ทักษะในการคิด
  -ทักษะการวิเคราะห์
  -ทักษะการแก้ไขปัญหา
  -ทักษะการสังเกต
  -การตอบคำถามจากโจทย์/ปัญหา

ประเมิน
 บรรยากาศในห้องเรียน
   ห้องเรียนสะอาด บรรยากาศอบอุ่น วันนี้มีเพื่อนเซค 101 มาเรียนด้วย ทำให้มีจำนวนนักศึกษาเพิ่มขึ้น แต่ไม่มีปัญหาในการเรียน และเพื่อนๆต่างช่วยกันตอบคำถาม

 การจัดการเรียนการสอน
   อาจารย์มีการเตรียมการสอนมาดี และมีวัสดุอุปกรณ์เตรียมพร้อมให้กับนักศึกษา แต่มีบางคนที่ไม่ได้อุปกรณ์ซึ่งมีจำนวนน้อย แต่ก็ไม่ได้เป็นอุปศักดิ์ต่อการเรียน เพราะสามารถใช้อุปกรณ์กับเพื่อนได้

 วิเคราะห์ตนเอง
   จดบันทึกเนื้อหาที่สำคัญ พยายามทำความเข้าใจกับเนื้อหาให้มากขึ้น ทำให้เข้าใจได้ง่าย

วันอาทิตย์ที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 5

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 5
วันศุกร์ที่ 12 กุมภาพันธ์ 2559
เวลาเรียน 8.30-12.30 น.

ความรู้ที่ได้รับ

   อาจารย์แจกกระดาษให้คนละแผ่น แล้วให้ทำเป็นตาราง และแรเงารูปในช่องตารางซึ่งเป็นรูปทรงอะไรอะได้ให้หลากหลายรูปแบบ จากกิจกรรมนี้ทำให้ได้เรียนรู้โดยการลงมือปฏิบัติจริง สามารถลงมือได้อย่างอิสระ และการตัดสินใจด้วยตนเอง สิ่งที่ได้จากกิจกรรมนี้
  -สามารถนำมาจัดประสบการณ์ให้เด็กได้ลงมือทำผ่านประสาทสัมผัสทั้ง5ได้ 
  -รูปสี่เหลี่ยมจำนวน 2-3 รูป ที่สามารถสร้างเป็นรูปทรงอื่นๆได้หลากหลายรูปทรง
  -เป็นการจัดการเรียนที่ทำให้เด็กได้รู้จากการสืบเสาะ
การทำกิจกรรมนี้จะประสบความสำเร็จอย่างมาก คือควรให้เด็กได้เรียนรู้รูปทรงก่อน แล้วค่อนให้เด็กทำกิจกรรม
   
   อาจารย์ได้นำนิทานเกี่ยวกับคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยมาในนักศึกษาดู ในนิทานจะเป็นรูปทรงต่างๆ เพื่อให้ดูเป็นตัวอย่างในการใช้สื่อการสอนสำหรับเด็กได้ ซึ่งชื่อเรื่อง เต่าน้อยหัดวาดรูป
   
   จากนั้นอาจารย์เปิดวิดิโอ ตัวอย่างการสอนแบบ Project Approach ให้ดู ซึ่งในตัวอย่างการสอนนี้มี 5 ลักษณะสำคัญคือ
ลักษณะที่ 1 การอภิปราย การนำเสนอ
ลักษณะที่ 2 การนำเสนอประสบการณ์เดิม
ลักษณะที่ 3 การทำงานภาคสนาม
ลักษณะที่ 4 การสืบค้น
ลักษณะที่ 5 การจัดแสดง

   *การเรียนรู้ คือ การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม
   **วิธีการเรียนรู้ คือ การลงมือกระทำ
   ***พัฒนาการ คือ ความสามารถของเด็กแต่ละระดับช่วงอายุว่าสามารถทำอะไรได้บ้าง


 ทักษะ/ระดมความคิด
   -ทักษะในการคิดวิเคราะห์ความน่าจะเป็นไปได้ 
   -ทักษะการเรียนรู้โดยการลงมือกระทำ
   -รู้จักการแก้ไขปัญหาที่เหมาะสม
   -ทักษะในการคิด คำนวณ เรียนรู้รูปทรง

 ประเมิน
บรรยากาศในห้องเรียน
   ห้องเรียนสะอาด บรรยากาศดี เพื่อนๆตั้งใจเรียนมาก และให้ความร่วมมือกับอาจารย์ในการตอบคำถาม ทุกคนดูกระตือรือล้นในการทำกิจกรรม

การจัดการเรียนการสอน
   อาจารย์มาสอนตรงเวลา มีการเตรียมการสอนมาดี ทุกครั้งที่สอนอาจารย์จะยกตัวอย่างประกอบด้วยเสมอ ทำให้นักศึกษาเข้าใจมากขึ้น

วิเคราะห์ตนเอง
   วันนี้เข้าเรียนสาย 5 นาที ซึ่งอาจารย์เข้าสอนแล้ว ทำให้ต้องถามเพื่อนข้างๆ แต่ก็เรียนทันเพื่อน เข้าใจในเนื้อหาที่อาจารย์สอน และได้ความรู้หลากหลายอย่าง จากกิจกรรมที่อาจารย์ให้ทำ



วันอังคารที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 4

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 4
วันศุกร์ที่ 5 กุมภาพันธ์ 2559
เวลาเรียน 8.30-12.30 น.

ความรู้ที่ได้รับ


    อาจารย์นำสื่อการสอนปฏิทิน มาเป็นแบบอย่างในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้เหมาะสมกับเด็กปฐมวัย เพื่อให้เด็กเกิดทักษะจากสื่อการสอนคือ ได้การคิด เรียนรู้ตัวเลขฮินดูอารบิก การนับ การเรียงลำดับ และสี

 ๐เพื่อนออกมานำเสนอ
        -สรุปบทความ
        -ตัวอย่างการสอน
        -สรุปงานวิจัย
  ๐ประเภทสื่อสำหรับเด็กซึ่งมีทั้งหมด 8 ประเภทดังนี้
      1. จับคู่
      2. ภาพตัดต่อ
      3. สังเกตรายละเอียดภาพ
      4. โดมิโน
      5. ความสัมพันธ์ 2 แกน
      6. เรียงลำดับ(ขั้นตอน)
      7. การจัดหมวดหมู่
      8. เกมพื้นฐานการบวก


  เพลงคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

เพลงจับปู
หนี่ง สอง สาม สี่ ห้า   จับปูม้ามาได้หนึ่งตัว
หก เจ็ด แปด เก้า สิบ    ปูมันหนีบฉันต้องฉ่ายหัว
กลัว ฉันกลัว ฉันกลัว   ปูหนีบฉันที่หัวแม่มือ



  เพลงนกกระจิบ
          นั่นนกบินมาลิบๆ      นกกระจิบ 1,2,3,4,5
อีกฝูงบินล่องลอยมา     6,7,8,9,10ตัว

เพลงนับนิ้วมือ
นี่คือนิ้วมือของฉัน       มือฉันนั้นมีสิบนิ้ว
มือซ้ายฉันมีห้านิ้ว       มือขวาก็มีห้านิ้ว

นับหนึ่งสองสามสี่ห้า       นับต่อมาหกเจ็ดแปดเก้าสิบ

นับนิ้วนับจงอย่ารีบ       นับหนึ่งถึงสิบจำให้ขึ้นใจ
นี่คือนิ้วมือของฉัน       มือฉันนั้นมีสิบนิ้ว
มือซ้ายฉันมีห้านิ้ว       มือขวาก็มีห้านิ้ว
นับหนึ่งสองสามสี่ห้า       นับต่อมาหกเจ็ดแปดเก้าสิบ
นับนิ้วนับจงอย่ารีบ       นับหนึ่งถึงสิบจำให้ขึ้นใจ


เพลง บวก-ลบ
บ้านฉันมีแก้วน้ำสี่ใบ       ครูให้อีกสามใบนะเธอ
มารวมกันนับดีดีซิเออ       ดูซิเธอรวมกันได้เจ็ดใบ
บ้านฉันมีแก้วน้ำเจ็ดใบ       หายไปสามใบนะเธอ
ฉันหาแก้วแล้วไม่เจอ       ดูซิเธอเหลือเพียงแค่สี่ใบ


เพลง แม่ไก่ออกไข่
แม่ไก่ออกไข่วันละฟอง        ไข่วันละฟอง ไข่วันละฟอง
แม่ไก่ของฉันไข่ทุกวัน          หนึ่งวันได้ไข่หนึ่งฟอง

เพลง ลูกแมว
ลูกแมว 10 ตัว ที่ฉันเลี้ยงไว้ 

น้องขอให้แบ่งไป 1ตัว

ลูกแมว 10 ตัวก็เหลือน้อยลงไป
 นับดูใหม่เหลือลูกแมว 9 ตัว (8,7,6,5,4,3,2,1)

  ๐ จากนั้นก็ให้นักศึกษาแบ่งกลุ่มและช่วยกันแปลงเพลง บวก-ลบ และได้เพลงใหม่ที่แปลงแล้ว ดังนี้

   บ้านฉันมีลูกไก่สี่ตัว น้าให้อีกสามตัวนะเธอ
มารวมกันนับดีดีซิเออ  ดูซิเธอรวมกันได้เจ็ดตัว
บ้านฉันมีลูกไก่เจ็ดตัว  หายไปสามตัวนะเธอ
ฉันหาลูกไก่แล้วไม่เจอ  ดูซิเธอเหลือเพียงแค่สี่ตัว

   ๐ อาจารย์ให้นักศึกษาแต่ละกลุ่ม ออกมานำเสนอของเล่น (มีทั้งหมด 7 กลุ่ม)



ทักษะ/ระดมความคิด

ได้ทักษะจากการเรียนรู้จากประสาทสัมผัสทั้ง 6 ทักษะในการคิดประดิษฐ์สื่ออย่างไรให้เหมาะสมกับเด็กปฐมวัย ทักษะในการจัดประสบการณ์ให้เหมาะสมกับเด็ก และได้ช่วยกันในการระดมความคิดสร้างสรรค์ในการเเปลงเพลง


ประเมิน

บรรยากาศในห้องเรียน
ห้องเรียนสะอาด อากาศดี ไม่เสียงดัง เพื่อนๆต่างตั้งใจเรียน และทุกคนช่วยกันตอบคำถามและให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมเป็นอย่างดี 

การจัดการเรียนการสอน

มีการเตรียมการสอนมาดี อาจารย์จะมีคำถามเกี่ยวกับสาระที่เรียนให้นักศึกษาช่วยกันคิด แล้วอาจารย์ก็จะเสริมแทรกความรู้เพิ่มเติมให้ ทำให้เข้าใจมากยิ่งขึ้น 

วิเคราะห์ตนเอง

ตั้งใจเรียน เข้าใจในเนื้อหา ได้เรียนรู้เรื่องของเล่นที่ส่งเสริมในด้านคณิตศาสตร์ที่เพื่อนออกมานำเสนอ มีความสนุกสนานในการเรียนร้องเพลง และการแปลงเพลง